พุยพุย

วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4




วันพุธที่  27  มกราคม พ.ศ.2559
ขาดเรียนเนื่องจากลาป่วย



แต่อาจารย์ให้ศึกษาเนื้อหาสาระที่ควรทำจากเพื่อนๆ สรุปได้คือ ในวันนี้ครูสอนการร้องเพลงที่เป็นการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับคณิตศาสตร์  และยังได้รู้ถึงคำศัพท์ทางคณิตศาสตร์เพิ่มเติมคือคำว่า
1. ตัวเลข
2.ขนาด
3.รูปร่าง
4.ที่ัตั้ง
5.ค่าของเงิน
6.ความเร็ว
7.อุณหภูมิ

และคำศัพท์ที่เด็กควรรู้คือ กว้าง ยาว สูง ต่ำ


วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3



บรรยากาศในห้องเรียน
      ภายในวันนี้อาจารย์ได้แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละ 1 ต่อ 1 โดยที่อาจารย์จะให้ทำกิจกรรมอะไรต่อ เมื่ออาจารย์เริ่มกิจกรรม ทุกคนจะตั้งใจฟังปฏิบัติตามอาจารย์ และร่วมแสดงความคิดเห็น มีความสนใจในการเรียนและการทำกิจกรรมตลอด เป็นอีกวันที่มีบรรยากาศในการเรียนที่ดีค่ะ


ความรู้ที่ได้รับ


- คำขวัญวันครูในปี 2559 นี้ คือ " อนาคตก้าวไกล ด้วยครูดีมีคุณภาพ "

- การแบ่งกระดาษ 4 ส่วน ในแนวต่างๆให้เท่ากันและการฉีกกระดาษด้วยมือเปล่าได้รู้วิธีการแบ่งกระดาษในแนวต่างๆ ทั้งแนวตั้ง แนวนอน ให้ได้ 4 ส่วนและเท่ากัน และครูต้องสามารถฉีกกระดาษได้ด้วยมือเปล่าอย่างสวยงาม เมื่อนับกระดาษไปแปะรวมกันบนกระดาน ในการนับกระดาษนั้นถ้าอยากนับให้ง่ายต้องวางให้เป็นแถวและเป็นระเบียบ ในการทำกิจกรรมนั้นควรมีหลากหลายวิธีในการทำเพราะจะเป็นประสบการณ์สำคัญในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และนำไปใช้ชีวิตประจำวันได้
- การนำเสนอหน้าชั้นเรียนควรอธิบายให้ชัดเจนและจับใจความสำคัญว่าใคร ,ทำอะไรและอย่างไร ให้เข้าใจและไม่ควรอธิบายเร็วเกินไป ควรมีการยกตัวอย่างและวิธีการที่สามารถเข้าใจได้ละเอียด
- การใช้ชีวิตประจำวันนั้นควรตั้งเป้่าหมายไว้เสมอ ว่าควรดำเนินชีวิตไปในทางแบบใดให้มีคุณภาพ
- รู้จักการออกแบบการวางตัวหนังสือให้เหมาะสมกับพื้นที่ในกระดาษ รู้จักจังหวะในการออกแบบ ต้องรู้ว่าบางจังหวะต้องมีอิสระ บางจังหวะต้องมีระเบียบวินัย การเขียนนั้นต้องเขียนจากซ้ายไปขวา และในการคาดการณ์ของตนเองในการทำควรอยู่ในขอบเขตที่กำหนด
- ได้รู้ว่าการที่เด็กชอบทำอะไรนั้นเพราะเด็กมีวิธีการ รูปแบบนั้นโดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 กับวัตถุในการเรียนรู้ และจังเป็นวิธีการเรียนรู้ของเด็ก



สาระมาตรฐานการเรียนรู้ 1. การวัด
2. พีชคณิต
3. เรขาคณิต
4. จำนวนการดำนเนินการ
5. ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์
6. การคิดวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

คุณภาพของเด็กเมื่อจบการเรียนรู้
1. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา
- รู้จักเงินเหรียญและธนบัตร 
- เข้าใจเวลาและคำที่ใช้บอกเวลา - เปรียบเทียบเรียงลำดับ วัดความยาว , น้ำหนัก

2. มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์
- เข้าใจหลักการนับ เวลานับต้องนับเพิ่มขึ้นหรือลดลง
- การรวมและการแยกกลุ่ม การรวมจะเป็นการบวกส่วนการแยกกลุ่มจะเป็นการลบ - รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิคและตัวเลขไทย - รู้ค่าของจำนวน - จำนวน 1 - 20 เด็กรู้จักจำนวนตัวเลข
- เปรียบเทียบและเรียงลำดับ
3. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานแบบรูปของรูปที่มีรูปร่างขนาดสีที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
4. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเรขาคณิต - ตำแหน่ง , ทิศทางและระยะทาง - รูปทรงเรขาคณิต มิติและรูปเรขาคณิต มิติ

5. มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล นำเสนอข้อมูลรูปแบบแผนภูมิอย่างง่าย
6. มีทักษะกระบวนการคณิตศาสตร์ที่จำเป็น







สรุปบทความ วิจัย และวีดีโอโทรทัศน์ครูที่นำเสนอในวันนี้

บทความเรื่อง เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์

พื้นฐานในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา จะกำหนดสาระหลักที่จำเป็นสำหรับเด็ก ได้แก่ จำนวนและการดำเนินการ จำนวน การรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม การวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา เรขาคณิต ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็ก ต้องคำนึงถึงขั้นตอนการเรียนรู้ของเด็ก ได้แก่ ทบทวบความรู้พื้นฐาน สอนเนื้อหาใหม่ สรุปสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ นำความรู้ไปใช้ วัดและประเมินผล การเรียนรู้โดยให้เด็กมีส่วนร่วมรู้ ร่วมคิด ร่วมทำ ควรคำนึงถึงความสนใจและความแตกต่างของเด็กแต่ละคน นอกจากนั้น เทคนิคการจูงใจให้เด็กๆ สนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์อีกอย่าง คือ ให้เด็กได้เรียนรู้และค้นพบสิ่งท้าทาย ด้วยกิจกรรมและเกมที่ช่วยฝึกทักษะคณิตศาสตร์ให้เด็กได้ร่วมสนุกสนาน
วิจัยเรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ได้จากการสาน

โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. ทำการประเมินทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กก่อนทำการทดลองจากนั้นทำมาตรวจคะแนนตามเกณฑ์และเก็บคะแนนเป็นหลักฐาน
2.ดำเนินการทดลองในกิจกรรมการสาน 8 สัปดาห์ 4 วัน จำนาน 32 ครั้ง วันละ 30-50 นาที
3.เมื่อสิ้นสุดการทดลองผุ้วิจัยประเมินทักษะพื้นฐานชองเ็กหลังการทดลอง การสังเกตที่ได้รับจากการวิจัย -สัปดาห์แรกเด็กต้องการการปรับตัวเพื่อเตรียมความพร้อมจากการทำกิจกรรมสาน แต่เป็นกิจกรรมที่แปลกใหม่ จึงต้องใช้เวลา ในการอธิบายวิธีการทำ -ขณะที่ทำกิจกรรมเด็กมีความสนใจและกระตือรือร้นมาก -เด็กเรียนรู้สื่อใหม่และอุปกรณ์ที่หลากหลาย - กิจกรรมการสานทำให้เด็กสามารถเรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสพื้นฐานตร์ได้ด้วยตนเอง และมีพัฒนาการด้านอื่นอีกด้วย เช้น ได้ใช้กล้ามเนื้อมือ และตาสัมพัธ์กัน
สรุปผล
1.ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมหลังทำกิจกรรมสานสูงกว่าก่อนทำกิจกรรม
2.เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ก่อนทำการทดลองโดยรวมและรานด้านทุกด้าน พอใช้ แต่หลังจัดกิจกรรมสานเด็กมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมและรายด้านทุกด้าน ในระดับดี

วีดีโอโทรทัศน์ครู เรื่องสาระความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 
กิจกรรมคณิตปฐมวัยจากธรรมชาติรอบตัว

มี 6 กิจกรรม

1. กิจกรรม : มุมคณิต การนำสิ่งต่าง ๆ ในครัวเรือน เช่น พืชผัก ไข่ เมล็ดพืช ซึ่งเป็นสิ่งที่เด็กรู้จักและคุ้นเคย โดยมีบัตรภาพที่กำหนดตัวเลขไว้ ให้เด็กเลือกสิ่งใดก็ได้ มาวางให้ตรงกับจำนวนในบัตรเลขนั้น

2. กิจกรรม : ต้นไม้ใกล้ตัว พาเด็กไปเรียนที่ใต้ต้นไม้ นอกห้องเรียน ซึ่งจะนำใบไม้ร่วงมาเปรียบเทียบ มานับจำนวน มากกว่าน้อยกว่า โดยที่ครูจะเป็นคนกำหนดโจทย์ให้

3. กิจกรรม : เกมกระต่ายเก็บของ เป็นการเก็บของโดยการจัดอันดับ 5 สิ่ง คือ ก้อนหิน ไม้บล็อก ตะกร้า โดยวิ่งไปเก็บของตามลำดับใส่ตะกร้าให้ครบ ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ได้
ประโยชน์จากการทำกิจกรรม
ทำให้เด็กเรียนรู้การใช้เงิน รู้จักเบอร์โทรศัพท์ของผู้ปกครอง ป้ายทะเบียนรถ ตัวเลขต่าง ๆ เป็นต้น ที่สำคัญคือ เด็กมีความสุขในการทำกิจกรรมและการเรียนรู้

4. 
กิจกรรม : ปูมีขา เป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กรู้ว่าปูมีขา 8 ขา และก้ามปูอีก 2 ก้าม ซึ่งให้เด็กเปรียบเทียบ เรียนรู้จากการนับนิ้วมือ ให้มิือเป็นเหมือนขาของปู

5. กิจกรรม : เกมก้อนหินหรรษา เป็นการนำก้อนหิน 2 สี คือ สีขาวกับสีแดง มาเรียงตามจำนวนในบัตรภาพหรือบัตรตัวเลข

6.
กิจกรรม : ใบไม้แสนสวย เช่น การจัดกิจกรรมจากการร้อยใบไม้ เริ่มจากใบไม้กลม หยัก เหลี่ยม รี หรือกิจกรรมการพิมพ์ภาพจากใบไม้ให้เท่าจำนวนตัวเลขที่ครูกำหนดมาให้ หรือกิจกรรมการฉีกปะใบไม้ ลงในตัวเลขที่ครูพิมพ์ไว้ให้ โดยให้เด็กเลือกเองตามใจชอบ


ทักษะที่ได้จากการเรียน

1.ทักษะการคิดการแบ่งกระดาษด้วยหลากหลายวิธี
2.ทักษะการนำประสบการณ์จากการใช้ชีวิตประจำวันมาใช้ในการเรียนคณิตศาสตร์
3.ทักษะการเขียนเพื่อสรุปการเรียนรู้
4.ทักษะการคิดตอบคำถามจากปัญหาที่อาจารย์ได้ตั้งคำถาม การปฏิบัติกิจกรรมให้ตรงตามขอบเขตที่อาจารย์กำหนด
5.ทักษะการหาเป้าหมายในชีวิตของตนเอง
6.ทักษะในการพูดตอบคำถาม การค้นหาคำตอบด้วยวิธีใหม่ๆ
7.ทักษะการฟังในการเรียนทักษะการนำเสนอหน้าชั้นเรียนฃ
8.ทักษะการปฏิบัติกิจกรรมให้ตรงตามขอบเขตที่อาจารย์กำหนด
ประเมินผล
ประเมินอาจารย์
 
การสอนของอาจารย์ในวันนี้มีการนำกิจกรรมมาให้ปฏิบัติก่อนเริ่มเนื้อหาและสอนแบบสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการเป็นครูว่าควรตระหนักถึงการเป็นครูที่ดีและมีคุณภาพของสังคม ควรที่จะเตรียมความพร้อมทั้งกาย วาจา และใจ จึงจะทำให้รู้สึกมีแรงบันดาลใจในการเรียนมากขึ้น อาจารย์ได้ให้คำแนะนำตลอดการเรียนการสอน อธิบายเนื้อหาเรื่องที่เรียนได้ละเอียดและชัดเจน มีการยกตัวอย่างในเนื้อหาที่เรียนทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น คอยรับฟังคำถามหรือเรื่องที่นักศึกษาสงสัยจากเนื้อหาที่เรียนเมื่อจบการเรียนการสอนของวิชาเสมอ






วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2




วันพุธที่  13  มกราคม พ.ศ.2559

บรรยากาศการเรียน
     เป็นสัปดาห์ที่  2  ที่ได้เรียนวิชานี่  ในวันนี้มีบรรยากาศการเรียนที่เต็มไปด้วยความกระตือรือร้นเพราะได้เริ่มบทเรียนใหม่  ในคาบแรกครูได้แจกกระดาษ  1 แผ่น ต่อ 1 คน และอธิบายเรื่องการใช้กระดาษและการคำนวนเป็นตัวเลขโดยใช้กระดาษ  1 แผ่น

สาระ
     ครูได้บอกถึงความหมายของคณิตศาสตร์  ซึ่งได้นิยามไว้ว่า  คณิตศาสตร์หมายถึงการคิดคำนวนในชีวิตประจำวัน  โดยมีองค์ประกอบต่างๆที่แตกต่างออกไป  ยกตัวอย่าง  เช่น
     -  การจับจ่ายซือของในชีวิตประจำวัน  กล่าวคือ  การบวก ลบ คูณ หาร เป็นต้น
     -  การทำอาหาร  เช่น  การชั่ง  การตวง  ปริมาณสารอาหารที่จะใช้ผสม เป็นต้น
     -  หุ้น หรือภาษีที่เราจ่ายในชีวตประจำวัน
     -  บทเรียนต่างๆในปัจจุบันที่มีตัวเลขมาเกี่ยวข้องเพื่อเป็นความรู้  เป็นต้น

การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
1.การจัดประสบการณ์
-หลักสูตร
-หลักการ
-แนวทาง
-แผนการจัดประสบการณ์/การจัประสการณ์ โดยผู้ปกครอง
-สื่อคณิตศาสตร์

2. คณิตศาสตร์
-ความหมาย
-ประโยชน์
-ความสำคัญ
-สาระ
-ทักษะ

3. เด็กปฐมวัย
-ความหมาย
-พัฒนาการ
-การเรียนรู้

ทักษะ
     ครูให้เราหยิบกระดาษคนละแผ่นแล้วส่งต่อไปเรื่อยๆจนครบ  ในจำนวน 1 ต่อ 1 จากนั้นครูก็หาความเป็นไปได้ว่า ทำไมกระดาษถึงเหลือ หรือ ทำไมกระดาษถึงไม่พอ  แต่ในห้องเรามีจำนวนคนน้อยกว่าจำนวนกระดาษ  จึงสรุปได้ว่า  จำนวนกระดาษเพียงพอต่อจำนวนคนในห้องนั้นเอง

การนำมาประยุกต์ใช้
     -เราสามารถนำคณิตศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันคือ การคำนวณอัตราส่วนของอาหาร โดยการชั่งตวงสารอาหาร  หรือวัดน้ำหนักส่วนสูงเพื่อมาคำนวณสัดส่วนของร่างกาย
เทคนิคการสอนของอาจารย์
     - อาจารย์จะเปิดประเด็นโดยการพูดคุยเรื่องทั่วไปรอบๆตัวเรากับนักศึกษาก่อน เพื่อเป็นการผ่อนคลายไม่ให้ตึงเครียดมากนักกับวิชาคณิตศาสตร์นี้  จากนั้นก็เริ่มแจกกระดาษ 1 คน ต่อ 1 แผ่น และค่อยๆถามความเป็นมาว่าทำไมกระดาษถึงเหลือ  เพื่อให้แต่ละคนระดมความคิดให้กระจ่างว่าเหตุผลมันคืออะไร  โดยอาจารย์ให้พวกเราคิดคำนวนและคาดคะเนกันเองว่าเหตุผลเป็นเพราะอะไร ทำไมจึงเกิดเหตุการณ์นี้ได้  จากนั้นอาจารย์ก็เริ่มโยงเนื้อหาเข้ามาแทรกซึมและสอนไปพร้อมๆกับตั้งคำถาม  เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองก่อน

ประเมินอาจารย์
     อาจารย์จินตนามีหลักการสอนที่แปลกใหม่ ไม่ซ้ำซาก  เปิดโอกาสให้นักศึกษาตอบและช่วยกันแก้ปัญหาในประเด็นต่างๆได้อย่างดี  ไม่กดดันหรือเร่งรัดจนเกินไปเพราะอาจทำให้คำตอบไม่ตรงกับที่คิดได้  อาจารย์มีความอดทนสูงต่อการสอนมากๆ สอนเนื้อหาที่ไม่เคยรู้มาก่อน พยายามหาสิ่งรอบตัวมาเชื่อโยงให้เป็นคณิตศาสตร์ได้หมด







วิจัย


การศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรของเด็กปฐมวัยที่ไดรับ การจัดกิจกรรมพิมพภาพจากการแปรสภาพวัสดุธรรมชาติ

สรุป - ไดกลาวถึงหลักการสอนคณิตศาสตรไวดังนี้ 

1. สอนใหสอดคลองกับชีวิตประจําวันการเรียนรูของเด็กจะเกิดขึ้นเมื่อเด็กมองเห็น ความจําเปน และประโยชนของสิ่งที่ครูกําลังสอนดังนั้น การสอนคณิตศาสตรแกเด็กจะตอง สอดคลองกับกิจกรรมในชีวิตประจําวัน เพื่อใหเด็กตระหนักถึงเรื่องคณิตศาสตรทีละนอย และ ชวยใหเด็กเขาใจเกี่ยวกับคณิตศาสตรในขั้นตอไปแตสิ่งที่สําคัญที่สุดคือ การใหเด็กไดปฏิสัมพันธ กับเพื่อนกับครูลงมือปฏิบัติดวยตนเอง 
2. มีเปาหมายและมีการวางแผนที่ดีครูจะตองมีการเตรียมการเพื่อใหเด็กไดคอย ๆ พัฒนาการเรียนรูขึ้นเองและเปนไปตามแนวทางที่ครูวางไว 
3. เปดโอกาสใหเด็กไดรับประสบการณที่ทําใหพบคําตอบดวยตนเอง เปดโอกาส ใหเด็กไดรับประสบการณที่หลากหลาย และเปนไปตามสภาพแวดลอมที่เหมาะสม มีโอกาสไดลง มือปฏิบัติจริง ซึ่งเปนการสนับสนุนใหเด็กไดคนพบคําตอบดวยตนเอง พัฒนาความคิดรวบยอด และความคิดรวบยอดไดเองในที่สุด 4. เอาใจใสเรื่องการเรียนรูและลําดับขั้นการพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก ครู ตองมีการเอาใจใสเรื่องการเรียนรูเกี่ยวกับคณิตศาสตร โดยเฉพาะลําดับขั้น การพัฒนาความคิดรวบ ยอด ทักษะทางคณิตศาสตรโดยคํานึงถึงหลักทฤษฎี 
5. ใชวีการจดบันทึกพฤติกรรม เพื่อใชในการวางแผนและจัดกิจกรรม การจด บันทึกดานทัศนคติ ทักษะ และความรูความเขาใจของเด็ก ในขณะทํากิจกรรมตาง ๆ เปนวิธีการที่ทํา ใหครูวางแผนและจัดกิจกรรมไดเหมาะสมกับเด็ก

บทบาทของครูในการจัดประสบการณดานคณิตศาสตร  กลาววา การจัดประสบการณและกิจกรรมทางดาน คณิตศาสตรที่เหมาะสมสําหรับเด็กปฐมวัย ตองมีกระบวนการและขั้นตอนที่ครูและผูเกี่ยวของ 43 ตองศึกษาและทําความเขาใจเพื่อจะไดดําเนินการไดอยางถูกตองและเปนประโยชนตอการเรียนรู ของเด็กปฐมวัยมากที่สุด ซึ่งมีนักการศึกษาไดเสนอแนะบทบาทของครูในการจัดกิจกรรม 
คณิตศาสตรสําหรับเด็กปฐมวัย สรุปถึงบทบาทของครูวา การจัดการเรียนการสอนของครูที่มีคุณภาพ ควรจะเปนปจจุบันกับเหตุการณและไมเปนทางการ แตไมไดหมายความวาจะมีการวางแผนหรือไมมีระบบบทบาทของครูในการจัดประสบการณ ดานคณิตศาสตรสําหรับเด็กปฐมวัย ครูจะตองมีความรับผิดชอบสูงมีการวางแผนการจัดสิ่งแวดลอม แหงการเรียนรูใหกับเด็กซึ่งจะทําใหเด็กแสวงหาคําตอบ การจัดกิจกรรมเหลานี้เปนการวางพื้นฐาน ความคิดรวบยอดคณิตศาสตรสําหรับเด็กปฐมวัย 


จัดทำโดย - นางบานเย็น ชุมภู






บทความ


คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เมื่อเจ้าตัวเล็กเริ่มท่องเลขได้ คนเป็นพ่อแม่ก็พากันปลื้มค่ะ ครั้นท่อง One Two Three…ได้อีก คราวนี้ปลื้มกันสุดๆ เชียวล่ะ แม้พอถามว่าลูกเข้าใจความหมายที่แท้จริงหรือเปล่า ว่า 1 และ 2 คืออะไร ถ้าเป็นผลไม้จะมีสักกี่ผล หรือเป็นสิ่งของจะมีสักกี่ชิ้น แล้วได้คำตอบ “ไม่รู้” ก็ตาม การเรียนรู้คณิตศาสตร์ของลูกไม่ใช่แค่ท่องจำตัวเลข 1 2 3 4…10 หรือ 1 + 1 = 2 เท่านั้น แต่คณิตศาสตร์ คือการเรียนรู้เรื่องอื่นๆ เมื่อเขาเติบโตขึ้น รู้จัก Mathematic ทุกวันนี้หมดยุคท่องจำ หรือมุ่งการเรียนรู้เฉพาะเรื่องจำนวนและตัวเลขแล้วค่ะ เพราะว่าคณิตศาสตร์สามารถเรียนรู้ได้ง่ายๆ จากการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การเล่นกับลูก ไปเที่ยว หรือจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น นับต้นไม้ ใบไม้ ซึ่งมีทั้งการนับ ขนาด ปริมาณ น้ำหนัก การเปรียบเทียบ เรียนรู้เวลา และอื่นๆ มากมาย สิ่งเหล่านี้พ่อแม่ต้องกระตุ้นลูกบ่อยๆ จะทำให้เขาเข้าใจความหมายและรู้จักนำจินตนาการมาใช้ได้ดีขึ้น ขวบปีที่สาม ลูกจะเห็นการจับคู่เป็นเรื่องง่ายแล้วค่ะ วัยนี้จึงควรจัดกิจกรรมให้เด็กๆ ได้ใช้ทั้งความคิด ความมีเหตุผล และเห็นการเชื่อมโยงกันให้มากขึ้น เช่น ลูกมีตุ๊กตากี่ตัวจ๊ะ ลูกต้องการรถกี่คัน หรืออาจจะให้ลูกช่วยจัดโต๊ะอาหาร ให้อาหารสัตว์ หรือไปซื้อของ ลูกจะได้เรียนรู้ การจัดหมวดหมู่ การเปรียบเทียบ การจัดวาง เป็นต้น พีธากอรัส นักคณิตศาสตร์ ชาวกรีก กล่าวไว้ว่า “หลายสิ่งหลายอย่างสามารถอธิบายให้เข้าใจได้ด้วยคณิตศาสตร์” คาร์ล เฟรดริช เกาส์ นักคณิตศาสตร์ที่สำคัญที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ กล่าวว่า “คณิตศาสตร์ไม่ใช่ความรู้ แต่เป็นการเรียนรู้ที่ให้ความเพลิดเพลินสูงสุด” Fun+Learn in 7 Day การเรียนรู้คณิตศาสตร์ของลูกเริ่มต้นจากการเล่นและการใช้ภาษาที่เป็นธรรมชาติค่ะ ซึ่งทุกกิจวัตรประจำวันถือเป็นโอกาสดีที่จะผสมผสานให้ลูกได้เรียนรู้และเข้าใจถึงทักษะง่ายๆ และใกล้ตัว Monday : เรียนรู้การนับและจำนวน ฝึกให้ลูกรู้จุกการนับจากชีวิตประจำวันขณะกิน เล่น เล่านิทาน เช่น การนับนิ้วมือ ช่วงแรกให้นับ 1-5 ก่อน แล้วเพิ่มเป็น 10 จากนั้นจึงค่อยเชื่อมโยงไปสู่ตัวเลขที่เป็นรูปธรรมเพื่อให้ลูกเห็นจำนวนที่แท้จริงมากขึ้น 


แหล่งที่มา - นิตยสารรักลูก  
โดย เกสต์สิรี







วิดีโอโทรทัศน์ครู 
คณิตศาสตร์ (ตัวเลข) สำหรับเด็กปฐมวัย





สรุป - กล่าวถึงครูที่อยู่โรงเรียนประถมเกรตบาร์  ในเบอร์มิงแฮมว่ามีวิธีการรับมืออย่างไรในการสังเกตุการณ์เด็กๆและจะวางแผนการสอนคณิตศาสตร์ในชั้นอนุบาลรวมไปถึงประถมอย่างไร

     ครูอแมนดา แม็กเคนนา หัวหน้าครูระดับชั้นป.1-2 เชื่อว่าการเรียนคณิตศาสตร์ควรสนุกสนานและเป็น­ส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ที่โรงเรียนเกรตบาร์ การเรียนรู้อย่างอิสระผ่านการเล่นเป็นหัวใ­จสำคัญในการพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ของนักเรี­ยน 
ขณะนี้โรงเรียนกำลังมุ่งส่งเสริมให้เด็ก ๆ รู้สึกเป็นอิสระที่จะขบแก้ปัญหาคณิตศาสตร์­ด้วยต้วเอง และพัฒนาทักษะเช่น การจดจำตัวเลข การจัดลำดับและการคำนวณไปด้วย 
     ซึ่งครูจะหยิบตัวเลข 6 แล้วบอกว่าตัวนี้เลข 4 ใช่ไหม ลองเชิงเด็กๆว่าสนใจอยู่ไหม เด็กๆก็จะบอกว่านั้นไม่ใช่เลข 6 แต่เป็นเลข 4 และครูก็ให้เด็กๆออกมาหยิบดูว่าเลข 6 ที่แท้จริงเป็นแบบไหน  ครูจะสาธิตวิธีประเมินเด็ก ๆ ผ่านการสังเกตการณ์ในแต่ละวัน และวิธีนำข้อมูลที่ได้เข้าที่ประชุมครูเพื­่อวางแผนการสอนต่อไป โรงเรียนเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า หากเด็ก ๆ รู้สึกสนุกกับวิชาเลขตั้งแต่ชั้นเล็ก ๆ แล้ว ผลการเรียนรู้ในชั้นปีอื่น ๆ ก็จะเปลี่ยนไปในทางดีด้วย

สิ่งสำคัญ : การสอนคณิตศาสตร์ เด็กเล็ก เกม กิจกรรมนอกห้องเรียน เรียนรู้ผ่านชีวิตประจำวัน เลขในชีวิตประจำวัน การสร้างแรงบันดาลใจ สื่อการสอน การวัดประเมิน การสังเกตการณ์ การทำงานเป็นทีม การประชุมครู การวางแผนการสอนร่วมกัน การแข่งขัน ความสนุกในการเรียนคณิตศาสตร์ มีความสนุกกับตัวเลข การจัดลำดับ การจดจำตัวเลข การคำนวณ คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ผ่านการเล่น โดยการศึกษาแบบอิสระ การเรียนรู้อย่างอิสระ ความร่วมมือระหว่างครูและผู้ปกครอง scaffolding การแนะแนวร่วมไปถึงการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ในด้านทักษะการคิดวิเคราะห์อีกด้วย 

แหล่งที่มา - https://www.youtube.com/watch?v=eftDXPGKtMs





วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1



วันพุธที่  6  มกราคม  พ.ศ.2559

บรรยากาศการเรียน
     
     ในวันนี้เป็นวันเปิดภาคเรียนและเป็นคาบแรกที่ได้เรียนวิชานี้  บรรยากาศโดยรวมภายในห้องเต็มไปด้วยความสงสัยว่าวิชานี้เรียนเกี่ยวกับอะไร  และได้มีการพูดคุยกันระหว่างนักศึกษากับอาจารย์ด้วยเรื่องของการใช้ชีวิตกับคณิตศาสตร์  ซึ่งทำให้รู้ว่าคณิตศาสตร์นั้นมีอยู่ทุกทีในการดำรงชีวิตแต่ละวันนั้นเอง  และดิฉันยังมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นต่างๆที่อาจารย์ได้ถามในห้องเรียนอีกด้วย

สาระ
     ในวันนี้ได้รับสาระมากมายจากการทำบล็อค  โดยที่ไม่ซ้ำซาก  ไม่น่าเบื่อ  มีหัวข้อต่างๆด้วยกันดังนี้  
บรรยากาศ,สาระ,ทักษะ,การนำไปประยุกต์ใช้,วิธีการสอนของครู,และการประเมินผู้สอน  ในหัวข้อต่างๆนี้มีความสำคัญหมด เพราะทำให้สื่อถึงได้ว่าในวันนั้นๆเรียนอะไร  แบบไหน  อย่างไร ซึ่งสามารถเป็นผลดีกับตัวเองและผู้อื่นได้

ทักษะ
      กำหนดการศึกษา - ในคาบเรียนครูได้ให้เราฝึกทักษะการคำนวนและการคิดโดยแบ่งกระดาษให้เท่าๆกัน  ซึ่ง  ณ  ตอนนั้นในห้องมีทั้งหมด  19  คน  และครูได้แจกกระดาษมาประมาณ 8-9 แผ่น ถ้ากระดาษเหลือก็คืน โดยให้พวกเราแบ่งเป็น  3  ส่วนเท่าๆกัน  เพื่อให้เราเขียนลักษณะเด่นๆที่คนทั่วไปสามารถมองเห็นและรับรู้ได้ว่าเป็นตัวเรา
     
     ทักษะที่ได้รับ  
               -  ทักษะการคิดคำนวน  คิดและคำนวนว่ากระดาษที่ได้มาเพียงพอหรือขาด เหลือต่อการทำการหรือไม่                                                            
               -  ทักษะการบริหารการจัดการ  ทำการแบ่งกระดาษแต่ละแผ่นให้เท่าๆกัน
              
               -  ทักษะการจินตนาการถึงเป้าหมาย  คิดและจินตนาการว่าลักษณะภายนอกที่คนอื่นสามารถ     เห็นได้ในตัวเราคืออะไร




การนำไปประยุกต์ใช้
      ผลการเรียนในวันนี้เกิดประโยชน์ในหลายด้านมาก ซึ่งจะยกตัวอย่างการนำไปประยุกต์ใช้มาคร่าวๆคือ  การแบ่งกระดาษของแต่ละคนให้เท่าๆกันนั้น  สามารถฝึกสอนการคิดคำนวนของเด็กๆได้ว่าควรแบ่งแบบไหนถึงจะเพียงพอต่อเพื่อนๆหรือคนห้อง  โดยทำให้รู้ได้ว่าเด็กคนนั้นๆมีการพัฒนาด้านการคิด
คำนวนมากเพียงใด 

เทคนิคการสอน
     อาจารย์มีเทคนิคในการสอน  คือ  จะพูดในหัวข้อนั้นๆโดยเจาะจงอย่างละเอียด  ซึ่งไม่ออกนอกกรอบหรือนอกประเด็นอื่น  และถ้านักศึกษาคนไหนสงสัยหรืออยากทราบในหัวข้อต่างๆที่อยากรู้ก็ให้ยกมือถามอาจารย์  โดยมีข้อแม้ว่าถ้าถามคำถามมาแล้วต้องถามให้เคลียร์  ตรงไปตรงมา  ไปกว้างจนเกินไปเพราะอาจจะทำให้คำตอบนั้นสับสนได้  ซึ่งรวมไปถึงการบรรยายการทำบล็อคด้วยว่าในการทำบล็อคนั้นต้องมีรายละเอียดต่างๆที่เป็นหลักพื้นฐานโดยทั่วไปคือ  มีปฏิทิน  นาฬิกา  ชื่อมหาวิทยาลัย  ชื่อคณะ  
ชื่อผู้สอน  และที่สำคัญขาดไม่ได้คือ  ชื่อนักศึกษาผู้จัดทำบล็อคนี้เพราะบล็อคที่ได้ทำนี้เผยแผ่สู่โลกออนไลน์อย่างรวดเร็วและกว้างขวางมาก  เพราะฉะนั้นถ้าผลงานเราถูกใจผู้ที่เข้ามารับชมแล้ว  เขายังสามารถรู้ได้อีกด้วยว่าใครเป็นผู้จัดทำ  ซึ่งเป็นผลดีแก่ตัวเรามากๆ  ณ  จุดๆนี้

ประเมินผู้สอน   
     อาจารย์จินตนามีเทคนิคการสอนที่ตรงไปตรงมา  ไม่ออกนอกกรอบ  เป็นทางการกับนักศึกษามากๆ  เสนอหัวข้อการสอนได้ตรงประเด็น เน้นๆและได้รับความรู้อย่างมาก  อาจารย์มีความมุ่งมานะในการสอนอย่างมาก  และยังบอกแนวทางการเรียนว่าควรเรียนอย่างไรถึงจะประสบความสำเร็จ