พุยพุย

วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7




วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559




บรรยากาศในห้องเรียน

      ในวันนี้อาจารย์เข้าสอนช้ากว่าทุกวัน เพราะต้องไปเปิดงานวิาการ แต่นักศึกษามาเข้าเรียนตรงเวลา และนั่งรออาจาร์ยกันอย่างเรียบร้อย  หลังจากที่อาจารย์เข้ามาสอนก็เริ่มพูดคุยกันถึงบทเรียนที่จะเรียน


ความรู้ที่ได้รับในวันนี้ 
       
      ในวันนี้ครูให้ทำกิจกรรม ซึ่งอาจารย์ให้เตรียมไม้เสียบลูกชิ้น ที่ตัดทั้งหมด 3 ขนาดคือ 1ส่วน 2 ส่วน แะ 3 ส่วน จากอาทิตย์ที่แล้วมาด้วย  โดยอาจารย์ได้แจกถุงดินน้ำมันหลากสี แล้วให้พวกเราเลือกหยิบกันคนละสีเท่านั้น พร้อมทำตามที่อาจารย์สั่งดังนี้  


- ในครั้งแรกอาจารย์ให้ทำรูป 3 เหลี่ยม โดยนำไม้ขนาดที่เท่ากันมาเชื่อมด้วยดินน้ำมันที่เราได้เลือกไว้ และครั้งต่อมา ครูให้ทำเป็นรูป ทรง 3 เหลี่ยม  ซึ่งต้องมีมิตินั้นเอง โดยเริ่มจากฐานเดิมที่สร้างไว้หรือว่าจะสร้างใหม่ก็ได้ ดังภาพ

                               





ต่อไปอาจารย์ให้ทำรูป 4 เหลี่ยม โดยนำไม้ที่ตัด มาต่อ ขนาดเท่าไหร่ก็ได้ตามใจชอบ
ครั้งที่สองอาจารย์ให้ทำเป็นรูปทรง 4 เหลี่ยม โดยทำต่อจากฐานเดิมหรือเปลี่ยนใหม่ก็ได้ ดังภาพ





สรุปเนื้อหาต่างๆที่เพื่อนนำเสนอ



สรุปงานวิจัย
เรื่อง การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์กิจกรรมดนตรี  ตามแนวออร์ฟ-ชูคเวิร์ค
ผู้จัดทำ  วรินธร  สิริเดชะ (2550)  เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒผู้ควบคุม  
ผู้ช่วยศาตราจารย์ จิราภรณ์ บุญส่ง อาจารย์ ดร. สุจินดา ขจรรุ่งศิลป์

กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการทดลองเป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุ 4-5 ปี จำนวน 30 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล 2 ปีการศึกษา 2549 ภาคเรียนที่ 2 โรงเรียนศรีดรุณ จังหวัดสมุทรปราการ  โดยใช้ระยะเวลาทดลอง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาที

เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ1 แผนการจัดประสบการณ์ดนตรีตามแนวออร์ฟชูคเวิร์คและแบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์2 คูมือการจัดประสบการณดนตรีตามแนวออรฟชูคเวิรค       การจัดประสบการณดนตรีตามแนวออรฟชูคเวิรค ผูวิจัยเปนผูดําเนินการจัดกิจกรรม โดยจัดกิจกรรมดนตรีตามแนวออรฟชูคเวิรค ใหกับเด็กสัปดาหละ 3 วัน คือในวันจันทร พฤหัสบดี ศุกร ระหวาง เวลา 9.10 – 9.50 น. เปนเวลาทั้งสิ้น 8 สัปดาห รวม 24 กิจกรรม โดยมีจุดมุงหมายเพื่อสงเสริมทักษะ พื้นฐานทางคณิตศาสตร ดังนี้

1. การจัดหมวดหมู  
2. การรูคาจํานวน 1 - 10 
3. การเปรียบเทียบในเรื่องตอไปนี้ - จํานวน  ไดแก มาก – นอย เทากัน - ไมเทากัน - ปริมาณ ไดแก มาก – นอย หนัก – เบา - ขนาด   ไดแก เล็ก กลาง ใหญ  สูง – ต่ำ สั้น – ยาว - รูปทรงเรขาคณิต ไดแก วงกลม สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม
4. อนุกรม ลักษณะของกิจกรรมเปนกิจกรรมดนตรีที่เด็กไดลงปฏิบัติ โดยผสานกิจกรรมตางๆเขาดวยกันอยางผสมกลมกลืน ไดแก   - คําพูด ( Speech)
- การรองเพลง (Singing)
- ลีลาและการเคลื่อนไหว (Movement)
- การใชรางกายทําจังหวะ (The Use of Body in Percussion)
- การคิดแตงทํานองหรือทาทางแบบทันทีทันใด (Improvisation)
         ซึ่งการจัดประสบการณดนตรีตามแนวออรฟชูคเวิรค สามารถบูรณาการสาระการเรียนรูในดาน ตางๆผสมผสานเขาไปในกิจกรรมทั้ง 5   ดังกลาว การวิจัยครั้งนี้ตองการศึกษาความสัมพันธของการจัด ประสบการณดนตรีตามแนวออรฟชูคเวิรค สัมพันธกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร ในการวาง แผนการจัดกิจกรรมแตละครั้งจึงตองมีการบูรณาการเนื้อหาสาระทางดานคณิตศาสตรกับกิจกรรมดนตรีเพื่อสงเสริมทักษะพื้นฐานคณิตศาสตรอยางสัมพันธกัน  เพื่อใหการจัดกิจกรรมดังกลาว บรรลุตามวัตถุประสงค ผูดําเนินการควรมีพื้นฐานความเขาใจ ในเรื่องพัฒนาการเด็ก จิตวิทยาพัฒนาการ ดนตรี ควรเปนผูที่มีความละเอียด รอบคอบ ชางสังเกต ใจ กวางที่จะใหโอกาสเด็กไดแสดงความคิดเห็น แสดงความสามารถ ตลอดจนมีความเชื่อมั่นในศักยภาพ ของเด็กเชื่อวาดนตรีพัฒนาเด็กๆไดและที่สําคัญ คือ การคํานึงถึงความแตกตางระหวางบุคคลนอกจากนั้นทุกครั้งกอนที่จะจัดประสบการณกิจกรรมดนตรีตามแนวออรฟชูคเวิรค ในแตละ ครั้ง ผูดําเนินการควรมีการตระเตรียมความพรอมทั้งในดานของสถานที่ บรรยากาศ ตลอดจนสื่อ อุปกรณที่หลากหลาย เครื่องดนตรีชนิดตางๆที่สอดคลองกับเนื้อหาของกิจกรรม ทั้งนี้เพื่อใหการดําเนิน กิจกรรมเปนไปอยางราบรื่น และบรรลุตามจุดประสงคที่ตั้งไวออรฟเนนใหเด็กไดสัมผัสและมีปฏิสัมพันธกับสื่อมากที่สุด โดยเริ่มจากสื่อที่ใกลตัวขยายสูสื่อที่ ไกลออกไป ดังนั้น สื่อของออรฟจึงเริ่มจากรางกายของเด็กเอง ไปจนถึงสื่อสําเร็จรูปตางๆ เชน เครื่อง ดนตรี เพลง เพลงที่ออรฟใชในการจัดประสบการณดนตรีแนวออรฟชูคเวิรคนี้มีที่มาหลากหลาย ทั้งจาก เพลงที่ออรฟแตงเอง เพลงที่เด็กแตงขึ้น และเพลงจากนักแตงเพลงทานอื่น ที่สอดคลองกับหลักการของ ออรฟ เนื่องจากเพลงที่ออรฟแตงเองมีไมมากนักและวัตถุประสงคหลักของการเขียนเพลงของออรฟ คือ แตงเพียงเพื่อเปนแบบ (models) เพื่อการ improvisation สวนประกอบที่ออรฟใชแตงเพลงสําหรับเด็ก คือ 1) pentatonic mode (โนต 5ตัว ซึ่งมีความสัมพันธของเสียง โด เร มี ซอ ลา)       
2) ostinato patterns และ borduns (แบบแผนของตัวโนตซ้ําๆที่เดินอยูตลอดทั้งเพลง) ซึ่งออรฟตั้งใจใหเด็กคิดขึ้นมาเอง เชน เพลง Day Is New Over ซึ่งเปนเพลงที่มีแบบแผนของเพลงชัดเจน บรรเลงงาย มีทํานองและเนื้อรอง แบงออกเปนทอนๆอยางแนนอน มีทอนลอและทอนรับ ซึ่งงายตอการเลียนแบบเพื่อนําไปคิดแตงทํานอง ตอดวยตนเอง            ดังนั้น ในการจัดประสบการณดนตรีตามแนวออรฟชูคเวิรคนั้น สื่อจึงมีความหลากหลายและมี ความหมายเฉพาะตัว ทั้งสื่อที่ใกลตัว สิ่งที่ประดิษฐเอง และสื่อสําเร็จรูป ผูดําเนินการวิจัยจึงจําเปนตอง ศึกษาและเรียนรู วิธีการใช เปาหมายของสื่อแตละชนิด เพื่อนํามาใชใหสอดคลองกับกิจกรรมเพื่อพัฒนา ผูเรียนใหบรรลุตามเปาหมายที่วางไว้     

สรุปวีดีโอ 
           เด็กจะเรียนรู้พื้นฐานจาก สี ขนาด รูปทรง ความกว้างความยาว จำนวน การสอนเด็กอนุบาลจะต้องค่อยๆเป็นค่อยๆไปไม่ต้องรีบ เราจำเป็นต้องปูพื้อฐานให้แน่ก่อนเมื่อเด็กมีฐานที่มั่นคงการไปต่อในด้านคณิตศาสตร์นั้นก็ง่ายและไปได้เร็ว 
      การเรียนคณิตศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพเรียนให้ได้ดีและสนุกนั้นต้องผ่านการเล่นโดยเด็กสามารถเริ่มเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ตั้งแต่ 1 ขวบ เด็กสามารถเรียนรู้ได้จำได้แต่ความเข้าใจจะเพิ่มขึ้นตามอายุ คณิตศาสตร์นี้ไม่ได้มีเพียงแค่ตัวเลข 1-10 เท่านั้น แต่ยังมีสี ขนาด รูปทรง ความกว้างความยาว นี้คือจุดเริ่มต้นของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กเล็กๆ เด็กนั้นจะจดจำสัญลักษณ์ได้ว่าสัญลักษณ์แบบนี้คือเลขนี้แบบนี้คือเลขนั้นนะแต่เด็กจะไม่รู้ความหมาย เด็กแต่ละคนนั้นจะไม่เหมือนกันมีความสนใจต่างกัน บางคนสนใจวิชาการบางคนสนใจ ในการทำกิจกรรม ดังนั้นกิจกรรมจะต้องมีความสนุกและเข้ากับเด็กได้ในทุกรูปแบบ ผู้ปกครองก็มีส่วนสำคัญในการต่อยอด การสอนเราจะต้องคอยถามเด็กเพื่อกระตุ้นให้เด็กได้ใช้ความคิด


                             



ทักษะที่ได้รับในวันนี้
     
- ทักษะการวางแผนว่าควรใช้ไม้ขนาดเท่าไหร่จึงจะได้รูป หรือรูปทรงที่ต้องการ
- ทักษะการวางแผนว่าควรทำอย่างไรจึงจะทำให้ไม้แต่ละชิ้นยึด หรือเชื่อมติดกัน  คำตอบคือใช้ดินน้ำมัน   ในการยึดนั้นเอง
- ทักษะการคาดคะเน ในการต่อไม้แต่ละชิ้น
- ทักษะความแม่นยำในการวางโครงสร้าง
- ทักษะการฟังและจับใจความจากสิ่งที่อาจารย์สั่ง
- ทักษะและไหวพริบในการทำ
- ทักษะรู้จักการแก้ปัญหาเมื่อรูปทรงผิดพลาด
- ทักษะการออกแบบ
- ทักษะการนำไปประยุกต์ใช้ในการสอน


การนำไปประยุกต์ใช้
       
          1.จากการเรียนรู้ในวันนี้ทำให้รู้ว่าการทำรูปทรงต่างๆเป็นไร  อีกทั้งยังสามารถ นำกิจกรรมที่ได้ทำวันนี้ ไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัยได้อีกด้วย เพื่อสงเสริมให้เด็กได้พัฒนาการเรียนรู้ในส่วนต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงให้เด็กรู้จักรูปทรงต่างๆอย่างถูกต้องอีกด้วย
          2.สามารถนำไปเป็นสื่อการเรียนการสอนเด็กปฐมวัยได้ คือ นำไปเป็นสื่อด้านวิชาคณิตศาสตร์  โดยสอนให้เด็กรู้จักรูปเรขาคณิตอย่างถูกต้อง อีกทั้งยังทำให้เด็กแยกคำว่าว่ารูป กับรูปทรงออกอีกด้วย


เทคนิคการสอน

1.สอนโดยเกริ่นนำก่อน การเข้ากิจกรรม
2.หากิจกรรมที่ส่งผลให้เกิดกระบวนการคิดในเชิงคณิตศาสตร์
3.บรรยายพร้อมทำกิจกรรม
4.สอดแทรกเรื่องคุณธรรมไปในบทเรียน
5.ให้นักศึกษานำเสนอความรู้ที่ค้นหามา
6.ถามตอบ อย่างมีเหตุผล
7ใต้องหาคำตอบที่ถูกต้องและชัดเจนเท่านั้น

ประเมินผล

      อาจารย์มีความกระตือรือร้น ขยันมาสอนครบทุกคาบโดยไม่บ่น  ชอบหากิจกรรมมาให้ทำ เพื่อเสริมเสริมกระบวนการคิดอย่างถูกวิธีเชงคณิตศาสตร์นั้นเอง คอยถามตอบกับนักศึกษา เพื่อหาคำตอบที่ถูกต้อง  เปิดโอกาสให้ถามตอบได้ตลอดเวลา โดยมีการอธิบายเสริมและสรุปบทความที่เรียนทุกครั้งหลังการสอน


                                         




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6





 เนื่องจากไม่สบาย
จึงลาป่วยค่ะ






แต่อาจารย์ให้ศึกษาเนื้อหาเกี่ยวกับที่เรียนในวันนี้  สรุปได้ว่า  ครูแจกกระดาษ A4 คนละ 1 แ่ผ่นซ฿่งมีความยาวที่เท่ากันคือ 10 เซนติเมตรด้วยกัน  หลังจากนั้นให้ตีตาราง 2 ตาราง  จากนั้นก็ให้เพื่อนๆดูวิดิโอแล้วระบายสีลงในตาราง

และอาจารย์ยังได้บอกอีกว่า เกมการการศึกษษมีหลายประเภทด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น

1.เกมจับคู่ประเภทเดียวกัน
2.เกมจับคู่ที่สัมพันธ์กันตรงข้าม
3.เกมจับคู่ที่ซับซ้อน
4.เกมจับคู่ที่สมมาตรกัน
5.เกมจับคู่แบบอนุกรม เป็นต้น

และที่กล่าวมาทั้งหมดสามารถนำไปใช้เป็นเกมการศึกษาให้เด็กได้ทั้งสิ้น

วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5


วันพุธที่  3  กุมภาพันธ์  พ.ศ.2559




บรรยากาศในห้องเรียน
      ในวันนี้เป็นวันที่มีเพื่อนบางกลุ่มเข้าเรียนมาในเวลาใกล้เคียงกับอาจารย์พอดี  จึงถือว่าไม่สายมาก  ในช่วงแรกครูแจกกระดาษแข็งให้คนละ  1  ใบ จากนั้นให้ทุกคนเขียนชื่อ  นามสกุลตนเองลงไป โดยคาดคะเนให้เหมาะสมและสวยงามที่สุด  จากนั้นนำกระดาษที่เขียนชื่อนั้นไปแปะบนกระดานหน้าห้อง  โดยครูพูดคุยกับพวกเราไปพลางๆระหว่างที่เพื่อนติดกันอยู่



ความรู้ที่ได้รับ
      -ได้เรียนรู้ถึงคำคล้องจองคณิตศาสตร์ว่าคณิตศาสตร์กับคำในชีวิตประจำวันมีส่วนเกี่ยวข้องหรือคล้องจองกันอย่างไรบ้าง  และทำให้รู้ว่าคณิตศาสตร์มีอยู่รอบตัวในชีวิตประจำวันของทุกๆคน
       - การนับจำนวน  คือทำให้รู้ได้ว่าการที่จะทำกิจกรรมใดกิจกรรมนึงนั้นต้องอาศัยการคาดคะเน  การคำนวน  การชั่ง  ตวง  วัด  อย่างเป็นระบบ  เพื่อให้เกิดความแม่นยำมากขึ้นนั้นเอง
       - พื้นฐานของการคิดเลขสำหรับเด็กปฐมวัย  เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เด็กนั้นสามารถต่อยอดจากความรู้เดิมได้ ไปจนเกิดกระบวนการคิดการคำนวนอย่างมีเหตุผลและเกิดประโยชน์สูงสุดเพราะหากมีพื้นฐานที่ดีแล้ว ก็จะสามารถต่อยอดไปสู่คความรู้ใหม่ที่ดีขึ้นกว่าเดิมได้
       - เพลงคณิตศาสตร์  นิทานคณตศาสตร์เสริมการคิด  ในเด็กปฐมวัยนั้นจะเกิดการการเรียนรู้ที่ดีได้ พวกเขามักเริ่มมาจากการร้องเพลง  การฟังนิทาน เพราะจะทำให้เกิดการจินตนาการและการนึกคิดได้ดีกว่าการท่องจำ  ดังนั้นการที่นำเพลงมาดัดแปลงให้เนื้อหามีส่วนเป็นตัวเลข  เช่น บวก ลบ คูณ หาร นั้นเอง


เนื้อเพลงที่มีส่วนช่วยให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้มากขึ้น   







เพลง จับปู




เป็นเพลงที่สื่อถึงการนับจำนวนปูดดยนับ 1 2 3 4 5 เรียงตามจำนวนทางคณิตศาสตร์นั้นเอง


เพลง บวก-ลบ




เป็นการแสดงจำนวนเพิ่ม ลด ของแก้วน้ำ ว่าถ้าหากลดจำนวนแล้วจะทำให้เกิดจำนวนที่น้อยลง แต่ถ้าหากเพิ่มจำนวนขึ้นจะทำให้จำนวนเพิ่มมากขึ้น




เพลง  นับนิ้วมือ

" นี่คือนิ้วมือของฉัน  มือฉันนั้นมีสิบนิ้ว
มือซ้ายฉันมีห้านิ้ว  มือขวาก็มีห้านิ้ว
นับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า นับต่อมา หก เจ็ด แปด เก้า สิบ
นับนิ้วนั้นจงอย่ารีบ นับหนึ่งถึงสิบจำให้ขึ้นใจ "

เป็นนับจำนวนเลขโดยใช้อวัยะในร่างกายมาใช้เป็นตัวช่วย นั้นคือนิ้วมือของเรานั้นเอง


............................................................................................................

โดยเพลงทั้งหมดที่แสดงให้เห็นข้างต้นนี้ครูได้นำมาให้พวกเราฝึกร้องให้เข้าทำนองอย่างถูกต้อง  และปรบมือประกอบจังหวะ เพื่อให้เกิดความสุนทรีมากยิ่งขึ้น  และครูยังได้กล่าวอีกว่า  เราเป็นครูปฐมวัยควรรู้จักการนำเพลงประยุกต์ใช้หรือใส่ช่วงทำนองใหม่ให้เกิดความสนุกสนานมากยิ่งขึ้้น




ทักษะที่ได้รับวันนี้

- ทักษะการเปรียบเทียบ
- ทักษะการคำนวน
- ทักษะการคาดคะเน
- ทักษะไหวพริบในการตอบอย่างว่องไว
- ทักษะในการตอบคำถามอย่างมีความคิดสร้างสรร
- ทักษะการฟัง
- ทักษะการจับคู่
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการออกแบบ
- ทักษะการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

การนำมาประยุกต์ใช้
     
      จากความรู้ที่ได้รับมาทั้งหมดในวันนี้ทำให้รู้หลักการและเทคนิคหลายอย่างว่าเราเป็นครูปฐมวัยต้องสามารถนำเพลงมาให้เนื้อหาหรือทำนองให้เพื่อให้เกิดสุนทรีในการฟัง การร้องมากยิ่งขึ้น  อีกทั้งยังทำให้รู้จักการนำวิชาคณิตศาสตร์มาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดโดยนำมาเป็นส่วนประกอบในการแต่งเพลง  โดยนำจำนวนการบวก ลบ คูณ หาร มาใส่ลงในเพลง  เพราะจะทำให้เกิดสื่อการเรียนรู้แบบใหม่ๆที่ไม่ซ้ำซากจำเจนั้นเอง


เทคนิคการสอน

     ครูมีหลักการสอนที่แปลกใหม่ คือครูจะตั้งปัญหานั้นๆว่าสมควรทำอย่างไหร่เมื่อเจอปัญหานี้  หรือควรแก้ปัญหาแบบไหนถึงจะเป็นวิธีที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุด  จากนั้นก็ให้ในห้องช่วยกันคิดคำนวนดูหลักการและเหตุผลว่าสมควรที่จะได้คำตอบแบบนั้นจริงๆหรือไม่ พร้อมทั้งช่วยกันหาแนวคิดใหม่ๆมาช่วยในการเรียนการสอนด้วย


 ประเมินผล

ประเมินอาจารย์
     ในวันนี้ครูสอนอย่างสนุกสนานเพราะมีการสอนร้องเพลงประกอบจังหวะ  ครูมีความขยัน  ตรงต่อเวลา  มีความอดทนอย่างสูงเพราะในเซคของดิฉันเป็นเซคที่เฮฮา และมักจะสร้างความปวดหัวให้กับอาจารย์บ้างเป็นบางครั้ง  แต่อาจารย์ก็ไม่เคยบ่นเลย  อีกทั้งยังขอความคิดเห็นภายในห้องว่าควรจัดการเรียนการสอนแบบไหนถงจะดีที่สุด