วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559
บรรยากาศในห้องเรียน
ในวันนี้เป็นวันที่มีเพื่อนบางกลุ่มเข้าเรียนมาในเวลาใกล้เคียงกับอาจารย์พอดี จึงถือว่าไม่สายมาก ในช่วงแรกครูแจกกระดาษแข็งให้คนละ 1 ใบ จากนั้นให้ทุกคนเขียนชื่อ นามสกุลตนเองลงไป โดยคาดคะเนให้เหมาะสมและสวยงามที่สุด จากนั้นนำกระดาษที่เขียนชื่อนั้นไปแปะบนกระดานหน้าห้อง โดยครูพูดคุยกับพวกเราไปพลางๆระหว่างที่เพื่อนติดกันอยู่
ความรู้ที่ได้รับ
-ได้เรียนรู้ถึงคำคล้องจองคณิตศาสตร์ว่าคณิตศาสตร์กับคำในชีวิตประจำวันมีส่วนเกี่ยวข้องหรือคล้องจองกันอย่างไรบ้าง และทำให้รู้ว่าคณิตศาสตร์มีอยู่รอบตัวในชีวิตประจำวันของทุกๆคน
- การนับจำนวน คือทำให้รู้ได้ว่าการที่จะทำกิจกรรมใดกิจกรรมนึงนั้นต้องอาศัยการคาดคะเน การคำนวน การชั่ง ตวง วัด อย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดความแม่นยำมากขึ้นนั้นเอง
- พื้นฐานของการคิดเลขสำหรับเด็กปฐมวัย เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เด็กนั้นสามารถต่อยอดจากความรู้เดิมได้ ไปจนเกิดกระบวนการคิดการคำนวนอย่างมีเหตุผลและเกิดประโยชน์สูงสุดเพราะหากมีพื้นฐานที่ดีแล้ว ก็จะสามารถต่อยอดไปสู่คความรู้ใหม่ที่ดีขึ้นกว่าเดิมได้
- เพลงคณิตศาสตร์ นิทานคณตศาสตร์เสริมการคิด ในเด็กปฐมวัยนั้นจะเกิดการการเรียนรู้ที่ดีได้ พวกเขามักเริ่มมาจากการร้องเพลง การฟังนิทาน เพราะจะทำให้เกิดการจินตนาการและการนึกคิดได้ดีกว่าการท่องจำ ดังนั้นการที่นำเพลงมาดัดแปลงให้เนื้อหามีส่วนเป็นตัวเลข เช่น บวก ลบ คูณ หาร นั้นเอง
เนื้อเพลงที่มีส่วนช่วยให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้มากขึ้น
เพลง จับปู
เป็นเพลงที่สื่อถึงการนับจำนวนปูดดยนับ 1 2 3 4 5 เรียงตามจำนวนทางคณิตศาสตร์นั้นเอง
เพลง บวก-ลบ
เป็นการแสดงจำนวนเพิ่ม ลด ของแก้วน้ำ ว่าถ้าหากลดจำนวนแล้วจะทำให้เกิดจำนวนที่น้อยลง แต่ถ้าหากเพิ่มจำนวนขึ้นจะทำให้จำนวนเพิ่มมากขึ้น
เพลง นับนิ้วมือ
" นี่คือนิ้วมือของฉัน มือฉันนั้นมีสิบนิ้ว
มือซ้ายฉันมีห้านิ้ว มือขวาก็มีห้านิ้ว
นับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า นับต่อมา หก เจ็ด แปด เก้า สิบ
นับนิ้วนั้นจงอย่ารีบ นับหนึ่งถึงสิบจำให้ขึ้นใจ "
เป็นนับจำนวนเลขโดยใช้อวัยะในร่างกายมาใช้เป็นตัวช่วย นั้นคือนิ้วมือของเรานั้นเอง
............................................................................................................
โดยเพลงทั้งหมดที่แสดงให้เห็นข้างต้นนี้ครูได้นำมาให้พวกเราฝึกร้องให้เข้าทำนองอย่างถูกต้อง และปรบมือประกอบจังหวะ เพื่อให้เกิดความสุนทรีมากยิ่งขึ้น และครูยังได้กล่าวอีกว่า เราเป็นครูปฐมวัยควรรู้จักการนำเพลงประยุกต์ใช้หรือใส่ช่วงทำนองใหม่ให้เกิดความสนุกสนานมากยิ่งขึ้้น
ทักษะที่ได้รับวันนี้
- ทักษะการเปรียบเทียบ
- ทักษะการคำนวน
- ทักษะการคาดคะเน
- ทักษะไหวพริบในการตอบอย่างว่องไว
- ทักษะในการตอบคำถามอย่างมีความคิดสร้างสรร
- ทักษะการฟัง
- ทักษะการจับคู่
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการออกแบบ
- ทักษะการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
การนำมาประยุกต์ใช้
จากความรู้ที่ได้รับมาทั้งหมดในวันนี้ทำให้รู้หลักการและเทคนิคหลายอย่างว่าเราเป็นครูปฐมวัยต้องสามารถนำเพลงมาให้เนื้อหาหรือทำนองให้เพื่อให้เกิดสุนทรีในการฟัง การร้องมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังทำให้รู้จักการนำวิชาคณิตศาสตร์มาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดโดยนำมาเป็นส่วนประกอบในการแต่งเพลง โดยนำจำนวนการบวก ลบ คูณ หาร มาใส่ลงในเพลง เพราะจะทำให้เกิดสื่อการเรียนรู้แบบใหม่ๆที่ไม่ซ้ำซากจำเจนั้นเอง
เทคนิคการสอน
ครูมีหลักการสอนที่แปลกใหม่ คือครูจะตั้งปัญหานั้นๆว่าสมควรทำอย่างไหร่เมื่อเจอปัญหานี้ หรือควรแก้ปัญหาแบบไหนถึงจะเป็นวิธีที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุด จากนั้นก็ให้ในห้องช่วยกันคิดคำนวนดูหลักการและเหตุผลว่าสมควรที่จะได้คำตอบแบบนั้นจริงๆหรือไม่ พร้อมทั้งช่วยกันหาแนวคิดใหม่ๆมาช่วยในการเรียนการสอนด้วย
ประเมินผล
ประเมินอาจารย์
ในวันนี้ครูสอนอย่างสนุกสนานเพราะมีการสอนร้องเพลงประกอบจังหวะ ครูมีความขยัน ตรงต่อเวลา มีความอดทนอย่างสูงเพราะในเซคของดิฉันเป็นเซคที่เฮฮา และมักจะสร้างความปวดหัวให้กับอาจารย์บ้างเป็นบางครั้ง แต่อาจารย์ก็ไม่เคยบ่นเลย อีกทั้งยังขอความคิดเห็นภายในห้องว่าควรจัดการเรียนการสอนแบบไหนถงจะดีที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น