พุยพุย

วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9



วันพุธที่  9  มีนาคม พ.ศ.2559


บรรยากาศในห้องเรียน

     ในวันนี้อาจารย์ได้ซักถามเกี่ยวกับการไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศน์มาว่ามีการเสริมสร้างหรือจัดประสบการณ์แบบใดบ้างที่ส่งเสริมด้านคณิตศาสตร์  เพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาและวิชาที่เรียนมากที่สุด

 สาระที่ได้รับในวันนี้
      ในวันนี้ดิฉันได้นำเสนอเนื้อหาในวิดิโอที่ได้ศึกษามา  เกี่ยวกับโรงเรียนแห่งนึงในเบอร์มิงแฮม  สรุปได้ว่า โรงเรียนนี้ได้จัดการเรียนการสอนแบบกลมกลืนกับธรรมชาติ โดยไม่เน้นการเขียนแต่เน้นปฎิบัติและลงมือทำกิจกรรมมากการเรียนหรือเขียนในตำรา  เพราะเขาเชื่อว่าการที่ให้เด็กได้ทำกิจกรรมภายนอกห้องเรียนนั้นช่วยให้เด็กได้เรียนรู้และมีประสบการณ์มากขึ้น  และช่วยให้เด็กได้คุ้นเคยกับธรรมชาติรอบตัวเด็ก  เพราะการเรียนเรียนรู้ที่ดีนั้นไม่จำเป็นต้องอยู่แต่ในห้องเรียน  เพราะการเรียนรู้ไม่มีขีดจำกัด  ยิ่งเราออกไปหาประสบการณ์นอกห้องเรียนมากแค่ไหนก็จะทำให้เรามีการคิด และจินตนาการรวมไปถึงการมีความรู้มากขึ้น

ต่อไปเป็นการนำเสนอของเพื่อนคนต่อไป ได้แก่

นางสาวจิราภรณ์ ฟักเขียว นำเสนอ วิดิโอในหัวข้อ ไข่ดีมีประโยชน์

     สรุปได้ว่า   ในโรงเรียนวัดไทรใหญ่จังหวัดนนทบุรี มีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ไข่ ซึ่งเป็นอาหารและสิ่งธรรมชาติรอบตัวเด็ก  และยังได้ศึกษาประโยชน์และส่วนต่างๆของไข่อีกด้วยว่าไข่เกิดอย่างอย่างไหร่ และสามารถนำมาประกอบอาหารอะไรได้บ้าง  เป็นต้น

กิจกรรมที่  1  เกมส่งไข่  โดยให้เด็กได้ส่งไข่เป็ดคนละใบให้กับเพื่อนโดยมีข้อแม้ว่าห้ามให้ไข่ตกลงมาแตกเด็ดขาด มิฉะนั้นต้องแพ้  โดยสัณชาตญาณแล้วคนเราจะรู้ว่าไข่เป็นลักษณะรูปร่างที่บอบบาง เมื่อได้ยินคำว่าไข่ขิงสัตว์ต่างๆคนเราจะรู้จักการประคับประคองอย่างถนุถนอม และนั้นเองคือสิ่งที่เด็กได้ทำ สามารถฝึกสมาธิในการส่งไข่และฝึกการประสานงานระหว่างตากับมือ  เป็นต้น

กิจกรรมที่  2  ครูเล่านิทานที่เกี่ยวกับไข่  โดยบอกรายละเอียดว่าสัตว์ชนิดไหนออกไข่บ้างและมีสีอย่างไร มีลักษณะ  รูปทรงอย่างไรเป็นต้น  เช่นไข่เป็ดมีลักษณะที่ค่อนข้างพอดีมือ และมีสีขาวมีขนาดที่ใหญ๋กว่าไข่ไก่นิดหน่อย  

กิจกรรมที่ 3 เป็นกิจกรรมคุ๊กกิ้ง ที่สอนให้เด็กรู้จักการนำไข่มาประกอบการทำอาหาร  โดยมีวิธีทำและขั้นตอนง่ายๆ ไม่ซับซ้อน อย่างไข่เจียว ไข่ดาว เป็นต้น


คนต่อไป  นางสาวสุวนันท์  สายสุด
นำเสนอวิจัย เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  โดยใช้รุปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

   สรุปได้ว่า   
จุดมุ่งหมาย  เพื่อเปรียบเทียบลักษณะทางศิลปะสร้างสรรค์ทั้งก่อนและหลังการทำกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างทักษะที่ดีแก้เด็ก

สมมติฐานการวิจัย  ในเด็กปฐมวัยได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และสามารถทดสอบออกมาได้ว่ามีความแต่งต่างกันระหว่างก่อนและหลังอย่างชัดเจน

ขอบเขตการวิจัย  นักเรียน ชาย หญิง ในโรงเรียนละอออุทิศ  จำนวน  10  ห้อง

เครื่องมือที่ใช้ในการค้นคว้า  แผนการจัดประสบการณืศิลปะสร้างสรรค์ด้านศิลปะ

กิจกรรมการเรียนการสอน
ขั้นนำ  กระตุ้นการเรียนรู้โโยให้สิ่งเร้าสอดคล้องกับเนื้อหาสาระ

ขั้นสอน  
1.ครูให้เด็กออกไปสำรวจต้นไม้ข้างนอกห้องเรียน  โดยให้สังเกตต้นใหญ่ว่ามีลักษณะอย่างไร  มีสี  มีกลิ่น  และมีรูปทรงแบบไหน  เป็นต้น  พร้อมทั้งให้เด็กนับจำนวนต้นไม้ที่ได้สังเกตไปว่ามีกี่ต้น
2.ครูแจกกระดาษคนละ 1 แผ่นแล้วให้เด็กๆวาดรูปต้นไม้ที่ต้นเองชอบอย่างอิสระ

ขั้นสรุป ให้เด็กๆแลกเปี่ยนความคิดเห็นเรื่องต้นไม้ที่ตนเองวาด พร้อมทั้งสรุป

สื่อ 
ดินสอ , กระดาษ , ต้นไม้จากสถานที่จริง

ประเมิน
1.สังเกตการตอบคำถามเกี่ยวกับต้นไม้ของเด็ก
2.สังเกตความสนใจในการทำกิจกรรม
3.สังเกตผลงานศิลปะของเด็ก


ทักษะที่ได้รับในวันนี้
การคิดวิเคราะห์ในการทำกิจกรรม
การวางแผนอย่างเป็นระบบ
การริเริ่มในการเริ่มทำกิจกรรม
การเลือกหัวข้อที่ตนเองสนใจ

การนำมาประยุกต์ใช้
สามารถนำหลักการสอนต่างๆหรือเรื่องราวที่เพื่อนนำเสนอมาในวันนี้มาพัฒนาและผสมผสานให้เข้ากับกิจกรรมการเรียนการสอนของเราอย่างสมบูรณ์และสามารถนำไปปรับใช้ให้เขากับเด็กในโรงเรียนต่างๆได้

เทคนิคการสอน
อาจารย์มรการเตรียมการสอนนักศึกษษที่ดีคือจัดเตรียมแผนการจัดประสบการณ์ต่างๆไว้ให้พร้อมก่อนการสอน  ซึ่งจัดยู่ในขั้นเตรียมการสอนนั้นเอง เป็นสิ่งที่ดี

การประเมินผล

ประเมินตนเอง
ในวันนี้ดิฉันได้ทำการนำเสนอบทความออกมาดีมาก ไม่ติดขัดใดๆทั้งสิ้งอีกทั้งยังได้รับคำชมเชยจากอาจารย์ที่สอนอีกด้วย

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆมีการให้ความร่วมมือดีมาก มีควมพยายามและอดทนในการฟังการนำเสนอบทความ วิดิโอและวิจัยต่างๆของเพื่อน  ไม่มีใครส่งเสียงดังรบกวนสมาธิเพื่อนเลย

ประเมินอาจารย์
มีการเตรียมพร้อมอย่างดี มีความกระตือรือร้นในการสอน เป็นแบบอย่างที่ดีต่อนักศึกษา







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น