พุยพุย

วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14



วันจันทร์ที่  25  เมษายน พ.ศ.2559 (เรียนชดเชย)

บรรยากาศภายในห้องเรียน
ในวันนี้มีสภาพอากาศที่เย็นสบาย เพราะเรียนในห้องแอร์เหมือนทุกๆครั้ง ใรขณะที่เรามาเรียนชดเชย แต่คนอื่นได้ยกคลาสกันหมดแล้ว

สาระการเรียนรู้
วันนี้ได้รู้ถึงหลักการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ที่ถูกต้อง
โดยครูจะแจกตารางที่สามารถนำมาเขียนแผนการจัดประสบการณ์ได้ และให้แต่ละกลุ่มนำไปเขียนให้ถูกต้องเหมาะสม  แต่ต้องมีแนวคิด สาระ การเรียนรู้ด้วย

กลุ่มที่ 1 หน่วยผลไม้ จะมีผลไม้แต่ละชนิดแตกต่างกันออกไป  ตามแต่ละสายพันธุ์
กลุ่มที่ 2 หน่วยของเล่นของใช้  เป็นสิ่งไม่มีชีวิต มีลักษณะแตกต่างกันออกไป
กลุ่มที่ 3 หน่วยกล้วย กล้วย  กล้วยมีหลายชนิดหลากสายพันธุ์ เช่น กล้วยหอม กล้วยไข่
กลุ่มที่ 4 หน่วยยานพาหนะ เป็นสิ่งไม่มีชีวิต เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น 

จากนั้นให้แต่ละลงมือปฏบัติเขียนแผนตามที่ต้องการและถูกต้องเหมาะสม

ทักษะที่ได้รับ
ทักษะการใช้หลักการ
ทักษะการจัดจำแนก
ทักษะการคิดวิเคราะห์

การนำมาประยุกต์ใช้
สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเขียนแผนได้อย่างดี  เพราะในหัวข้อต่างๆอาจารย์ได้จำลองถึงการจัด
กิจกรรมต้นๆไว้แล้ว

เทคนิคการสอน

อาจารย์มีการคิดเชิงบวกที่ดี และสามารถนำทุกๆสิ่งอย่างมาเชื่อมโยงเข้ากับคณิตศาสตร์ได้ดี

การประเมินผล 

ประเมินตนเอง - มีความขยัน ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนอย่างดี มีสมาธิใจจดใจจ่อ กับเนื้อหาที่ครูสอน

ประเมินเพื่อน - มีความสามัคคี ร่วมมือกันทำกิจกรรมอย่างเต็มที่ ไม่มีใครเอาเปรียบกัน

ประเมินอาจารย์ - มีความกระตือรือร้นต่อการสอน ตรงต่อเวลามากๆ


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13



วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ.2559

บรรยากาศภายในห้องเรียน
  ภายในห้องเรียนมีความสนุกสนาน  เต็มไปด้วยรอยยิ้ม เพราะอาจารย์เล่าเรื่องสนุก ตลกขบขันเรื่องนึงก่อนเข้าบทการเรียนการสอน

สาระการเรียนรู้
   ในวันนี้เพื่อนๆแต่ละกลุ่มได้นำเสนองานประจำกลุ่มของตนเอง  มีทั้งหมด  4  กลุ่มด้วยกัน  คือ

กลุ่มที่ 1 หน่วยกล้วย นิทานเรื่องกล้วยน้อยช่างคิด  ได้นำเสนอเกี่ยวกับประโยชน์ของกล้วยและวิธีการปลูกที่เหมาะสมรวมไปถึงสายพันธุ์ต่างๆ

กลุ่มที่ 2 หน่วยของเล่นของใช้ นิทานเรื่องหนูจินสอนเพื่อน  ได้นำเสนอเกี่ยวกับการดูแลรักษาของเล่นของใช้อย่างเหมาะสมและมีเนื้อหาสาระที่ค่อนข้างสนุก

กลุ่มที่ 3  หน่วยผลไม้  นิทานเรื่องประโยชน์ของผลไม้  เสนอเกี่ยวกับลักาณะภายนอก รูปร่าง รูปทรง สี กลิ่นต่างๆของผลไม้แต่ละสายพันธุ์

กลุ่ที่  4  หน่วยยานพาหนะ เสนอเกี่ยวกับประเภทของยานพาหนะ การดูแลรักษา ประโยชน์ของยานพาหนะ รวมไปถึงข้อควรระวัง เป็นต้น

ในวันนี้นางสาวยุคลธร ศรียะลา ได้ออกมาแก้ไข้การนำเสนอวิจัย 


ทักษะที่ได้รับ
ทักษะการจำแนก
ทักษะการคิดวิเคราะห์
ทักษะการคิดริ่เริ่ม
ทักษะการนำมาประยุกต์ใช้ เป็นต้น


การนำมาประยุกต์ใช้

คือสามารถนำเนื้อหาในวันนี้มาประยุกตฺใช้ให้เข้ากับการเขียนแผนการสอนที่เป็นคณิตศาสตร์ได้คือ  เราสามาถสอนลักษณะภายนอกของผลไม้ สี รูปทรง ขนาดและกลิ่น ของผลไม้ให้เด็กได้รู้

เทคนิคการสอน
อาจารย์สอนมีหลักการทุกเรื่อง สามารถสอนเรื่องต่างๆให้เข้ากับคณิตศาสตร์ได้หมด

การประเมินผล

ประเมินตนเอง - มีความขยัน ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนอย่างดี  ไม่พูดคุยกับเพื่อนขณะที่อาจารย์สอน  เพราะเนื้อหาทุกคำที่อาจารย์

ประเมินเพื่อน - เพื่อนอๆมีความพร้อมในการนำเสนองานต่างๆได้ดี

ประเมินอาจารย์ - มีความกระตือรือร้นในการสอน  ตงต่อเวลามากๆ


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12


วันพุธที่  30  มีนาคม พ.ศ.2559

จริงๆแล้วในวันนี้ดิฉันขาดเรียน  แต่อาจารย์ได้ให้ดิฉันศึกษาหาความรู้จากกิจกรรมที่เพื่อนๆได้ทำ  และเท่าที่ดูมานั้น  เพื่อนๆได้นำเสนองานแผนการสอนของวันจันทร์ที่แต่ละกลุ่มได้เขียนโครงร่างเอาไว้แล้ว และยัวเห็นถึงความสามัคคีของเพื่อนๆภายในกลุ่มเท่าที่ดูจากรูปในบล็อคของเพื่อนๆมา
โดยกลุ่มที่ 1 คือกลุ่มของดิฉัน  ได้นำเสนอ  เรื่อง ยานพาหนะ
 ซึ่งสอนให้เด็กทราบถึงการแยกประเภทของยานพาหนะ  ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศเป็นต้น

กลุ่มที่ 2 เรื่องของเล่นของใช้
ซึ่งสอนให้เด็กรู้จักแยกแยะว่าอันไหนของเล่น อันไหนของใช้  และยังสามารถแยกแยะได้ว่าของเล่นและของใช้แบบไหนเหมาะสมกับในวัยใด

กลุ่มที่ 3 เรื่องผลไม้
สอนให้เด็กรู้จักรูปทรง สี รส กลิ่น ขนาดของผลไม้ได้ดีว่าแต่ละชนิด แต่ละสายพันธุ์มีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร

กลุ่มที่ 4 เรื่องกล้วย
สอนให้เด็กได้แยกสายพันธุ์ต่างๆของกล่วยออกจากัน คือ ลักษณะแบบไหนเรียกว่ากล้วยไข่ ลักษณะแบบไหนเรียกว่ากล้วยน้ำว้า เป็นต้น



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11


วันพุธที่  23 มีนาคม พ.ศ.2559



บรรยากาศภายในห้องเรียน
ในวันนี้เป็นครั้งแรกที่พวกเราได้มาเรียนอาคารใหม่  อย่างตึก  34   เป็นห้องที่ใหญ่มากและมีเนื้อที่ค่อนข้างใหญ่  มีจำนวนที่นั่งเรียนมากมายเยอะกว่าจำนวนนักศึกษา  อากาศที่เย็นฉ่ำเพราะภายในห้อง 1 ห้องติดแอร์ทั้งหมด 2-3 ตัว

สาระการเรียนรู้
เพื่อนๆออกมานำเสนองานที่ตนเองได้ค้นคว้าไป บางคนนำเสนอวิจัย บางคนนำเสนอวิดิโอ บางคนนำเสนอบทความ  เรื่องต่างๆที่เพื่อนได้นำเสนอมานั้นสามารถนำมาปรับใช้ให้เข้ากับคณิตศาสตร์ได้หมดทุกอย่าง  ซึ่งเป็นผลดีมาก

การนำเสนอ คนที่ 1 ชื่อว่า  นางสาวสุดารัตน์ อาจจุฬา
นำเสนอบทความเรื่อง การจัดประสบการณืคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

กล่าวได้ว่า คณิตศาสตร์มีอยู่ทุกหนทุกแห่งในชีวิตประจำวันของเราทุกคน ไม่ว่าจะเป็นการชั่ง การวัด การตวงอาหาร  ปริมาณสัดส่วนต่างๆ  อีกทั้้งยังมีการนับจำนวน  ตัวเลข  การแยกแยะ ประเภทต่างๆได้อย่างถูกต้อง ทำให้ง่ายต่อการเรียนการสอน  โดยทักษะพื้นฐานทางคิตศาสตร์ที่ด้วยกัน  7 ทักษะคือ

1.ทักษะการสังเกต  คือ ใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้
2.ทักษะการจำแนกประเภท  ความสามารถในการแบ่งประเภทของสิ่งของต่างๆ  โดยหาเกณฑ์ในการแบ่ง
3.ทักษะการเปรียบเทียยบ คือ  การอาศัยการหาวัตถุมาเปรียบเทียบทั้งขนาด ปริมาณ หรือรูปทรงต่างๆ
4.ทักษะการจัดลำดับ  คือ  ส่งเสริมให้เด็กพัฒนาแบบความคิดรวบยอด
5.ทักษะการวัด  คือ  เมื่อเด็กผ่านหัวข้อต่างๆได้แล้ว เด็กจะนำไปสู่การวัดเองโดยอัตโนมัติ
6.ทักษะการนับ  คือ  การนับเริ่มต้นจากการนับปากเปล่า ไปจนการนับด้วยมือเพื่อแสดงถึงบสัญลักษณ์
7.ทักษะเกี่ยวกับเรื่องรูปและขนาด  คือ  เรื่องของขนาดและรูปทรงจะเกิดผลดีกับเด็กมากเพราะว่าเด็กได้จับต้องสิ่งของต่างๆด้วยมอของเขาเอง  และลงมือทำกิจกรรมนั้นๆโดนมีรูปทรงเป็นหลัก 

การนำเสนอคนที่ 2 คือนางสาวชื่นภา เพิ่มพูล
ในหัวข้อเรื่อวง คณิตศาสตร์กับชีวิต 
      โดยเพื่อนเล่ามาเราสามารถแบ่งออกเป็น  6 สาระทางคณิตศาสตร์ได้คือ  
1.จำนวนและการดำเนินการ
2.การวัด
3.เรขาคณิต
4.พีชคณิต
5.การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
6.ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

และยังบอกถึงวิธีการเขียนแผนที่ถูกต้องอีกด้วย โดยแบ่งเป็นหัวข้อดังนี้

- ชื่อเรื่อง
- วัตถุประสงค์
- วิธีการดำเนินการ  - ขั้นนำ , ขั้นสอน ,ขั้นสรุป
- สื่อ
-ประเมินผล

ทักษะที่ได้รับ
ทักษะในการสังเกตเรื่องราวต่างๆ
ทักษะในการวิเคราะห์
ทักษะในการแยกประเภทต่างๆ
ทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

การนำมาประยุกต์ใช้

สามารถนำมาประยุกต์ให้เข้ากับเนื้อหาการเรียนการสอนได้โดยการนำกิจกรรมหลักต่างๆที่เพื่อนได้นำเสนนอมา มาทำแผนกสอนโดยเสริมแนวคิดและวิธีการต่างๆที่สร้างสรรค์กว่าเดิมลงไป  เหมือนเป็นการนำมาปรับใช้นั้นเอง

เทคนิคการสอน

อาจารย์มีเทคนิคการสอนคือ  จะพูดในหัวข้อใหญ่ๆก่อนแล้วให้นักศึกษาแยกความคิดแล้วรวบยอดออกมาว่าหัวข้อย่อยๆคือออะไรบ้าง พร้อมทั้งสรุปในเนื้อหานั้นๆ

 การประเมินผล

ประเมินตนเอง - มีความขยันต่อการทำงาน  สามารถทำงานให้เสร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี  ไม่มีข้อคำหนิใดๆ และตั้งใจฟังดูอธิบายอย่างละเอียด

ประเมินเพื่อน - เพื่อนๆมีความกระตือรือร้นมากๆในการทำงานครั้งนี้ และการให้ความร่วมมือคือตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนองาน

ประเมินอาจารย์ - มีความรู้ที่รอบด้าน สามารถนำเนื้อหาสาระต่างๆมาเชื่อมโยงเข้าสู่การเรียนรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ได้ดีมากๆเข้าสอนตรงต่อเวลา 




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10



วันพุธที่  16  มีนาคม พ.ศ.2559


บรรยากาศในห้องเรียน
     ในวันนี้มีสภาพอากาศที่ค่อนข้างร้อนพอสมควรเพราะเป็นช่วงฤดูร้อน แต่ไม่ใช่อุปสรรคในการเรียน อีกทั้งในวันนี้อาจารย์มีการสอนเพิ่มเติมนิดหน่อยและนัดตรวจงานกลุ่มครั้งที่แล้วว่าควรปรับปรุงหรือแก้ไขในส่วนไหน

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
     อาจารย์สรุปการเขียนแผนผังการเรียนรู้ในหน่อยต่างๆที่สามารถใช้สอนเด็กได้ในอนาคต ซึ่งการเขียนแผนเป็นมายแมพนั้นเป็นผลดีต่อตัวผู้สอนและผู้เรียน  คือ เป็นการแตกยอดความคิดของผู้สอนอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยและยังสามารถถ่ายทอดออกมาได้ง่ายกว่าการที่จะอธิบายอย่างเดียว  ภาพจะเป็นสื่อที่ดีต่อการเรียนรู้นั้นเอง

กล่าวได้คือ กลุ่มดิฉันทำหัวข้อเรื่อง ยานพาหนะ จะแบ่งหัวข้อต่างๆได้คือ
1.ประเภท
2.ลักษณะ
3.การดูแลรักษา
4.ประโยชน์
5.ข้อควรระวัง

ในหัวข้อดังกล่าวนี้เป็นการแตกยอดออกมาอย่างถูกต้องและเหมาะสม และยังสามารถเชื่อมโยงเกี่ยวกับการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์อีกด้วย

ทักษะที่ได้รับ
- การคิด 
- การวิเคราะห์
- การจัดจำแนก หมวดหมู่ต่างๆ
- การแยกแยะในส่วนของเนื้อหาอย่างเหมาะสม
- การวางโครงสร้างที่ดีและถูกต้อง
- การคำนวนความน่าจะเป็นในการทำแผนผังกิจกรรม

การนำมาประยุกต์ใช้
สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้โดยการนำเทคนิคต่างๆมาเขียนแผนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กโดยแบ่งหัวข้อต่างๆได้อย่างเหมาะสมและสามารถรู้ถึงหละการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัยของเด็กแต่ละปี

 เทคนิคการสอน
อาจารย์ได้แบ่งหัวข้อของแต่ละกลุ่มอย่างชัดเจน และให้แต่ละกลุ่มระดมความคิดกันภายในกลุ่ม ซึ่งเป็นผลดีต่อตัวผู้เรียนที่จะได้รับการฝึกฝึนและฝึกการคิดที่ดี


การประเมินผล
ประเมินตนเอง
มีความกระตือรือร้นต่อการทำงาน มีความตั้งใจ ไม่วอกแวก จัดระบบทางความคิดได้อย่างเหมาะสมและได้รับความรู้ในการจัด แยก หมวดหมู่ของกิจกรรมได้ถูกต้อง

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆมีความสามัคคีกันในกลุ่ม ช่วยเหลือกันอย่างดีและระดมความคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประเมินอาจารย์
อาจารย์มีความพร้อมต่อการสอนตลอดเวลา  เข้าสอนได้ตรงต่อเวลาทุกครั้งและมีเทคนิคการสอนที่ดี แปลกใหม่ทุกครั้ง


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9



วันพุธที่  9  มีนาคม พ.ศ.2559


บรรยากาศในห้องเรียน

     ในวันนี้อาจารย์ได้ซักถามเกี่ยวกับการไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศน์มาว่ามีการเสริมสร้างหรือจัดประสบการณ์แบบใดบ้างที่ส่งเสริมด้านคณิตศาสตร์  เพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาและวิชาที่เรียนมากที่สุด

 สาระที่ได้รับในวันนี้
      ในวันนี้ดิฉันได้นำเสนอเนื้อหาในวิดิโอที่ได้ศึกษามา  เกี่ยวกับโรงเรียนแห่งนึงในเบอร์มิงแฮม  สรุปได้ว่า โรงเรียนนี้ได้จัดการเรียนการสอนแบบกลมกลืนกับธรรมชาติ โดยไม่เน้นการเขียนแต่เน้นปฎิบัติและลงมือทำกิจกรรมมากการเรียนหรือเขียนในตำรา  เพราะเขาเชื่อว่าการที่ให้เด็กได้ทำกิจกรรมภายนอกห้องเรียนนั้นช่วยให้เด็กได้เรียนรู้และมีประสบการณ์มากขึ้น  และช่วยให้เด็กได้คุ้นเคยกับธรรมชาติรอบตัวเด็ก  เพราะการเรียนเรียนรู้ที่ดีนั้นไม่จำเป็นต้องอยู่แต่ในห้องเรียน  เพราะการเรียนรู้ไม่มีขีดจำกัด  ยิ่งเราออกไปหาประสบการณ์นอกห้องเรียนมากแค่ไหนก็จะทำให้เรามีการคิด และจินตนาการรวมไปถึงการมีความรู้มากขึ้น

ต่อไปเป็นการนำเสนอของเพื่อนคนต่อไป ได้แก่

นางสาวจิราภรณ์ ฟักเขียว นำเสนอ วิดิโอในหัวข้อ ไข่ดีมีประโยชน์

     สรุปได้ว่า   ในโรงเรียนวัดไทรใหญ่จังหวัดนนทบุรี มีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ไข่ ซึ่งเป็นอาหารและสิ่งธรรมชาติรอบตัวเด็ก  และยังได้ศึกษาประโยชน์และส่วนต่างๆของไข่อีกด้วยว่าไข่เกิดอย่างอย่างไหร่ และสามารถนำมาประกอบอาหารอะไรได้บ้าง  เป็นต้น

กิจกรรมที่  1  เกมส่งไข่  โดยให้เด็กได้ส่งไข่เป็ดคนละใบให้กับเพื่อนโดยมีข้อแม้ว่าห้ามให้ไข่ตกลงมาแตกเด็ดขาด มิฉะนั้นต้องแพ้  โดยสัณชาตญาณแล้วคนเราจะรู้ว่าไข่เป็นลักษณะรูปร่างที่บอบบาง เมื่อได้ยินคำว่าไข่ขิงสัตว์ต่างๆคนเราจะรู้จักการประคับประคองอย่างถนุถนอม และนั้นเองคือสิ่งที่เด็กได้ทำ สามารถฝึกสมาธิในการส่งไข่และฝึกการประสานงานระหว่างตากับมือ  เป็นต้น

กิจกรรมที่  2  ครูเล่านิทานที่เกี่ยวกับไข่  โดยบอกรายละเอียดว่าสัตว์ชนิดไหนออกไข่บ้างและมีสีอย่างไร มีลักษณะ  รูปทรงอย่างไรเป็นต้น  เช่นไข่เป็ดมีลักษณะที่ค่อนข้างพอดีมือ และมีสีขาวมีขนาดที่ใหญ๋กว่าไข่ไก่นิดหน่อย  

กิจกรรมที่ 3 เป็นกิจกรรมคุ๊กกิ้ง ที่สอนให้เด็กรู้จักการนำไข่มาประกอบการทำอาหาร  โดยมีวิธีทำและขั้นตอนง่ายๆ ไม่ซับซ้อน อย่างไข่เจียว ไข่ดาว เป็นต้น


คนต่อไป  นางสาวสุวนันท์  สายสุด
นำเสนอวิจัย เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  โดยใช้รุปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

   สรุปได้ว่า   
จุดมุ่งหมาย  เพื่อเปรียบเทียบลักษณะทางศิลปะสร้างสรรค์ทั้งก่อนและหลังการทำกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างทักษะที่ดีแก้เด็ก

สมมติฐานการวิจัย  ในเด็กปฐมวัยได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และสามารถทดสอบออกมาได้ว่ามีความแต่งต่างกันระหว่างก่อนและหลังอย่างชัดเจน

ขอบเขตการวิจัย  นักเรียน ชาย หญิง ในโรงเรียนละอออุทิศ  จำนวน  10  ห้อง

เครื่องมือที่ใช้ในการค้นคว้า  แผนการจัดประสบการณืศิลปะสร้างสรรค์ด้านศิลปะ

กิจกรรมการเรียนการสอน
ขั้นนำ  กระตุ้นการเรียนรู้โโยให้สิ่งเร้าสอดคล้องกับเนื้อหาสาระ

ขั้นสอน  
1.ครูให้เด็กออกไปสำรวจต้นไม้ข้างนอกห้องเรียน  โดยให้สังเกตต้นใหญ่ว่ามีลักษณะอย่างไร  มีสี  มีกลิ่น  และมีรูปทรงแบบไหน  เป็นต้น  พร้อมทั้งให้เด็กนับจำนวนต้นไม้ที่ได้สังเกตไปว่ามีกี่ต้น
2.ครูแจกกระดาษคนละ 1 แผ่นแล้วให้เด็กๆวาดรูปต้นไม้ที่ต้นเองชอบอย่างอิสระ

ขั้นสรุป ให้เด็กๆแลกเปี่ยนความคิดเห็นเรื่องต้นไม้ที่ตนเองวาด พร้อมทั้งสรุป

สื่อ 
ดินสอ , กระดาษ , ต้นไม้จากสถานที่จริง

ประเมิน
1.สังเกตการตอบคำถามเกี่ยวกับต้นไม้ของเด็ก
2.สังเกตความสนใจในการทำกิจกรรม
3.สังเกตผลงานศิลปะของเด็ก


ทักษะที่ได้รับในวันนี้
การคิดวิเคราะห์ในการทำกิจกรรม
การวางแผนอย่างเป็นระบบ
การริเริ่มในการเริ่มทำกิจกรรม
การเลือกหัวข้อที่ตนเองสนใจ

การนำมาประยุกต์ใช้
สามารถนำหลักการสอนต่างๆหรือเรื่องราวที่เพื่อนนำเสนอมาในวันนี้มาพัฒนาและผสมผสานให้เข้ากับกิจกรรมการเรียนการสอนของเราอย่างสมบูรณ์และสามารถนำไปปรับใช้ให้เขากับเด็กในโรงเรียนต่างๆได้

เทคนิคการสอน
อาจารย์มรการเตรียมการสอนนักศึกษษที่ดีคือจัดเตรียมแผนการจัดประสบการณ์ต่างๆไว้ให้พร้อมก่อนการสอน  ซึ่งจัดยู่ในขั้นเตรียมการสอนนั้นเอง เป็นสิ่งที่ดี

การประเมินผล

ประเมินตนเอง
ในวันนี้ดิฉันได้ทำการนำเสนอบทความออกมาดีมาก ไม่ติดขัดใดๆทั้งสิ้งอีกทั้งยังได้รับคำชมเชยจากอาจารย์ที่สอนอีกด้วย

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆมีการให้ความร่วมมือดีมาก มีควมพยายามและอดทนในการฟังการนำเสนอบทความ วิดิโอและวิจัยต่างๆของเพื่อน  ไม่มีใครส่งเสียงดังรบกวนสมาธิเพื่อนเลย

ประเมินอาจารย์
มีการเตรียมพร้อมอย่างดี มีความกระตือรือร้นในการสอน เป็นแบบอย่างที่ดีต่อนักศึกษา







บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8


วันพุธที่ 2 มีนาคม 2559


  ในวันนี้ได้ไปศึกษาดูงานนนอกสถานที่ ณ โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศน์


    ภายในโรงเรียนมีการจัดสภาพแวดล้อมที่ดีและส่งงเสริมคุณธรรมต่างๆอีกทั้งยังมีการจัดการเสริมประสบการณ์ในด้านคณิตศาสตร์อีกด้วย  ดังภาพต่อไปนี้




มีสื่อการสอนที่ให้เด็กได้รู้จักฝึกการคิด แยกแยะ รูปทรง ขนาดและสีต่างๆนั้นเอง




สื่อการสอนที่เป็นรูปทรงต่างๆ ถูกแบ่งเรียงตามลำดับชั้นจาก 
เล็กไปใหญ่แต่มีลักษณะรูปทรงที่เหมือนกัน



    ในแต่ละห้องจะมีการทำสถิติจำนวนของนักเรียนที่มาในแต่ละวันนั้นๆเพื่อแสดงถึงศักยภาพและจำนวนคนมาเรียน  อีกทั้งในตรงนี้ยังสามารถฝึกให้เด็กรู้จักการนับ การแยกแยะอีกด้วย เพราะทุกๆครั้งครูจะให้เด็กในห้องนับจำนวนเพื่อนแล้วออกมาเขียนตรงกระดานนี้ทุกวัน  โดยผลัดเปลี่ยนคนออกมาเขียนคนละวันๆไปเรื่อยๆจนหมดเทอม 

ในภาพจะแบ่งออกมาได้ว่า  - จำนวนนักเรียน ชาย  11  คน  หญิง 14 คน รวมกันทั้งหมดเป็นจำนวน  25  คน  ในวันนี้  ชายมา 10 คน หญิงมา 12 คน รวมทั้งหมด  22 คน  สรุปได้ว่า  ชายขาด 1 คน หญิงขาด 2 คน รวมคนขาดทั้งสิ้น  3 คนเป็นต้น




     และยังสอนให้เด็กรู้จักการวัดการคาดคะเน  เช่น การชั่ง วัด ตวง ด้วยตาชั่งเป็นต้นอีกทั้งยังมีนาฬิทรายจำลองมาจากการประดิษฐ์ของเด็กๆเองเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง


     ลูกคิดสามารถช่วยฝึกให้เด็กคิดได้อย่างเป็นระบบมากขึ้น  การแยกแยะสีอย่างชัดเจนทำให้เด็กสามารถเรียนรู้รู้และเกิดการจำได้ดีขึ้น


ภาพเด็กๆในโรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศน์กำลังทำกิจกรรมเกี่ยวกับคณิตศาสตร์อย่างสนุกสนาน







วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7




วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559




บรรยากาศในห้องเรียน

      ในวันนี้อาจารย์เข้าสอนช้ากว่าทุกวัน เพราะต้องไปเปิดงานวิาการ แต่นักศึกษามาเข้าเรียนตรงเวลา และนั่งรออาจาร์ยกันอย่างเรียบร้อย  หลังจากที่อาจารย์เข้ามาสอนก็เริ่มพูดคุยกันถึงบทเรียนที่จะเรียน


ความรู้ที่ได้รับในวันนี้ 
       
      ในวันนี้ครูให้ทำกิจกรรม ซึ่งอาจารย์ให้เตรียมไม้เสียบลูกชิ้น ที่ตัดทั้งหมด 3 ขนาดคือ 1ส่วน 2 ส่วน แะ 3 ส่วน จากอาทิตย์ที่แล้วมาด้วย  โดยอาจารย์ได้แจกถุงดินน้ำมันหลากสี แล้วให้พวกเราเลือกหยิบกันคนละสีเท่านั้น พร้อมทำตามที่อาจารย์สั่งดังนี้  


- ในครั้งแรกอาจารย์ให้ทำรูป 3 เหลี่ยม โดยนำไม้ขนาดที่เท่ากันมาเชื่อมด้วยดินน้ำมันที่เราได้เลือกไว้ และครั้งต่อมา ครูให้ทำเป็นรูป ทรง 3 เหลี่ยม  ซึ่งต้องมีมิตินั้นเอง โดยเริ่มจากฐานเดิมที่สร้างไว้หรือว่าจะสร้างใหม่ก็ได้ ดังภาพ

                               





ต่อไปอาจารย์ให้ทำรูป 4 เหลี่ยม โดยนำไม้ที่ตัด มาต่อ ขนาดเท่าไหร่ก็ได้ตามใจชอบ
ครั้งที่สองอาจารย์ให้ทำเป็นรูปทรง 4 เหลี่ยม โดยทำต่อจากฐานเดิมหรือเปลี่ยนใหม่ก็ได้ ดังภาพ





สรุปเนื้อหาต่างๆที่เพื่อนนำเสนอ



สรุปงานวิจัย
เรื่อง การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์กิจกรรมดนตรี  ตามแนวออร์ฟ-ชูคเวิร์ค
ผู้จัดทำ  วรินธร  สิริเดชะ (2550)  เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒผู้ควบคุม  
ผู้ช่วยศาตราจารย์ จิราภรณ์ บุญส่ง อาจารย์ ดร. สุจินดา ขจรรุ่งศิลป์

กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการทดลองเป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุ 4-5 ปี จำนวน 30 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล 2 ปีการศึกษา 2549 ภาคเรียนที่ 2 โรงเรียนศรีดรุณ จังหวัดสมุทรปราการ  โดยใช้ระยะเวลาทดลอง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาที

เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ1 แผนการจัดประสบการณ์ดนตรีตามแนวออร์ฟชูคเวิร์คและแบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์2 คูมือการจัดประสบการณดนตรีตามแนวออรฟชูคเวิรค       การจัดประสบการณดนตรีตามแนวออรฟชูคเวิรค ผูวิจัยเปนผูดําเนินการจัดกิจกรรม โดยจัดกิจกรรมดนตรีตามแนวออรฟชูคเวิรค ใหกับเด็กสัปดาหละ 3 วัน คือในวันจันทร พฤหัสบดี ศุกร ระหวาง เวลา 9.10 – 9.50 น. เปนเวลาทั้งสิ้น 8 สัปดาห รวม 24 กิจกรรม โดยมีจุดมุงหมายเพื่อสงเสริมทักษะ พื้นฐานทางคณิตศาสตร ดังนี้

1. การจัดหมวดหมู  
2. การรูคาจํานวน 1 - 10 
3. การเปรียบเทียบในเรื่องตอไปนี้ - จํานวน  ไดแก มาก – นอย เทากัน - ไมเทากัน - ปริมาณ ไดแก มาก – นอย หนัก – เบา - ขนาด   ไดแก เล็ก กลาง ใหญ  สูง – ต่ำ สั้น – ยาว - รูปทรงเรขาคณิต ไดแก วงกลม สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม
4. อนุกรม ลักษณะของกิจกรรมเปนกิจกรรมดนตรีที่เด็กไดลงปฏิบัติ โดยผสานกิจกรรมตางๆเขาดวยกันอยางผสมกลมกลืน ไดแก   - คําพูด ( Speech)
- การรองเพลง (Singing)
- ลีลาและการเคลื่อนไหว (Movement)
- การใชรางกายทําจังหวะ (The Use of Body in Percussion)
- การคิดแตงทํานองหรือทาทางแบบทันทีทันใด (Improvisation)
         ซึ่งการจัดประสบการณดนตรีตามแนวออรฟชูคเวิรค สามารถบูรณาการสาระการเรียนรูในดาน ตางๆผสมผสานเขาไปในกิจกรรมทั้ง 5   ดังกลาว การวิจัยครั้งนี้ตองการศึกษาความสัมพันธของการจัด ประสบการณดนตรีตามแนวออรฟชูคเวิรค สัมพันธกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร ในการวาง แผนการจัดกิจกรรมแตละครั้งจึงตองมีการบูรณาการเนื้อหาสาระทางดานคณิตศาสตรกับกิจกรรมดนตรีเพื่อสงเสริมทักษะพื้นฐานคณิตศาสตรอยางสัมพันธกัน  เพื่อใหการจัดกิจกรรมดังกลาว บรรลุตามวัตถุประสงค ผูดําเนินการควรมีพื้นฐานความเขาใจ ในเรื่องพัฒนาการเด็ก จิตวิทยาพัฒนาการ ดนตรี ควรเปนผูที่มีความละเอียด รอบคอบ ชางสังเกต ใจ กวางที่จะใหโอกาสเด็กไดแสดงความคิดเห็น แสดงความสามารถ ตลอดจนมีความเชื่อมั่นในศักยภาพ ของเด็กเชื่อวาดนตรีพัฒนาเด็กๆไดและที่สําคัญ คือ การคํานึงถึงความแตกตางระหวางบุคคลนอกจากนั้นทุกครั้งกอนที่จะจัดประสบการณกิจกรรมดนตรีตามแนวออรฟชูคเวิรค ในแตละ ครั้ง ผูดําเนินการควรมีการตระเตรียมความพรอมทั้งในดานของสถานที่ บรรยากาศ ตลอดจนสื่อ อุปกรณที่หลากหลาย เครื่องดนตรีชนิดตางๆที่สอดคลองกับเนื้อหาของกิจกรรม ทั้งนี้เพื่อใหการดําเนิน กิจกรรมเปนไปอยางราบรื่น และบรรลุตามจุดประสงคที่ตั้งไวออรฟเนนใหเด็กไดสัมผัสและมีปฏิสัมพันธกับสื่อมากที่สุด โดยเริ่มจากสื่อที่ใกลตัวขยายสูสื่อที่ ไกลออกไป ดังนั้น สื่อของออรฟจึงเริ่มจากรางกายของเด็กเอง ไปจนถึงสื่อสําเร็จรูปตางๆ เชน เครื่อง ดนตรี เพลง เพลงที่ออรฟใชในการจัดประสบการณดนตรีแนวออรฟชูคเวิรคนี้มีที่มาหลากหลาย ทั้งจาก เพลงที่ออรฟแตงเอง เพลงที่เด็กแตงขึ้น และเพลงจากนักแตงเพลงทานอื่น ที่สอดคลองกับหลักการของ ออรฟ เนื่องจากเพลงที่ออรฟแตงเองมีไมมากนักและวัตถุประสงคหลักของการเขียนเพลงของออรฟ คือ แตงเพียงเพื่อเปนแบบ (models) เพื่อการ improvisation สวนประกอบที่ออรฟใชแตงเพลงสําหรับเด็ก คือ 1) pentatonic mode (โนต 5ตัว ซึ่งมีความสัมพันธของเสียง โด เร มี ซอ ลา)       
2) ostinato patterns และ borduns (แบบแผนของตัวโนตซ้ําๆที่เดินอยูตลอดทั้งเพลง) ซึ่งออรฟตั้งใจใหเด็กคิดขึ้นมาเอง เชน เพลง Day Is New Over ซึ่งเปนเพลงที่มีแบบแผนของเพลงชัดเจน บรรเลงงาย มีทํานองและเนื้อรอง แบงออกเปนทอนๆอยางแนนอน มีทอนลอและทอนรับ ซึ่งงายตอการเลียนแบบเพื่อนําไปคิดแตงทํานอง ตอดวยตนเอง            ดังนั้น ในการจัดประสบการณดนตรีตามแนวออรฟชูคเวิรคนั้น สื่อจึงมีความหลากหลายและมี ความหมายเฉพาะตัว ทั้งสื่อที่ใกลตัว สิ่งที่ประดิษฐเอง และสื่อสําเร็จรูป ผูดําเนินการวิจัยจึงจําเปนตอง ศึกษาและเรียนรู วิธีการใช เปาหมายของสื่อแตละชนิด เพื่อนํามาใชใหสอดคลองกับกิจกรรมเพื่อพัฒนา ผูเรียนใหบรรลุตามเปาหมายที่วางไว้     

สรุปวีดีโอ 
           เด็กจะเรียนรู้พื้นฐานจาก สี ขนาด รูปทรง ความกว้างความยาว จำนวน การสอนเด็กอนุบาลจะต้องค่อยๆเป็นค่อยๆไปไม่ต้องรีบ เราจำเป็นต้องปูพื้อฐานให้แน่ก่อนเมื่อเด็กมีฐานที่มั่นคงการไปต่อในด้านคณิตศาสตร์นั้นก็ง่ายและไปได้เร็ว 
      การเรียนคณิตศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพเรียนให้ได้ดีและสนุกนั้นต้องผ่านการเล่นโดยเด็กสามารถเริ่มเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ตั้งแต่ 1 ขวบ เด็กสามารถเรียนรู้ได้จำได้แต่ความเข้าใจจะเพิ่มขึ้นตามอายุ คณิตศาสตร์นี้ไม่ได้มีเพียงแค่ตัวเลข 1-10 เท่านั้น แต่ยังมีสี ขนาด รูปทรง ความกว้างความยาว นี้คือจุดเริ่มต้นของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กเล็กๆ เด็กนั้นจะจดจำสัญลักษณ์ได้ว่าสัญลักษณ์แบบนี้คือเลขนี้แบบนี้คือเลขนั้นนะแต่เด็กจะไม่รู้ความหมาย เด็กแต่ละคนนั้นจะไม่เหมือนกันมีความสนใจต่างกัน บางคนสนใจวิชาการบางคนสนใจ ในการทำกิจกรรม ดังนั้นกิจกรรมจะต้องมีความสนุกและเข้ากับเด็กได้ในทุกรูปแบบ ผู้ปกครองก็มีส่วนสำคัญในการต่อยอด การสอนเราจะต้องคอยถามเด็กเพื่อกระตุ้นให้เด็กได้ใช้ความคิด


                             



ทักษะที่ได้รับในวันนี้
     
- ทักษะการวางแผนว่าควรใช้ไม้ขนาดเท่าไหร่จึงจะได้รูป หรือรูปทรงที่ต้องการ
- ทักษะการวางแผนว่าควรทำอย่างไรจึงจะทำให้ไม้แต่ละชิ้นยึด หรือเชื่อมติดกัน  คำตอบคือใช้ดินน้ำมัน   ในการยึดนั้นเอง
- ทักษะการคาดคะเน ในการต่อไม้แต่ละชิ้น
- ทักษะความแม่นยำในการวางโครงสร้าง
- ทักษะการฟังและจับใจความจากสิ่งที่อาจารย์สั่ง
- ทักษะและไหวพริบในการทำ
- ทักษะรู้จักการแก้ปัญหาเมื่อรูปทรงผิดพลาด
- ทักษะการออกแบบ
- ทักษะการนำไปประยุกต์ใช้ในการสอน


การนำไปประยุกต์ใช้
       
          1.จากการเรียนรู้ในวันนี้ทำให้รู้ว่าการทำรูปทรงต่างๆเป็นไร  อีกทั้งยังสามารถ นำกิจกรรมที่ได้ทำวันนี้ ไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัยได้อีกด้วย เพื่อสงเสริมให้เด็กได้พัฒนาการเรียนรู้ในส่วนต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงให้เด็กรู้จักรูปทรงต่างๆอย่างถูกต้องอีกด้วย
          2.สามารถนำไปเป็นสื่อการเรียนการสอนเด็กปฐมวัยได้ คือ นำไปเป็นสื่อด้านวิชาคณิตศาสตร์  โดยสอนให้เด็กรู้จักรูปเรขาคณิตอย่างถูกต้อง อีกทั้งยังทำให้เด็กแยกคำว่าว่ารูป กับรูปทรงออกอีกด้วย


เทคนิคการสอน

1.สอนโดยเกริ่นนำก่อน การเข้ากิจกรรม
2.หากิจกรรมที่ส่งผลให้เกิดกระบวนการคิดในเชิงคณิตศาสตร์
3.บรรยายพร้อมทำกิจกรรม
4.สอดแทรกเรื่องคุณธรรมไปในบทเรียน
5.ให้นักศึกษานำเสนอความรู้ที่ค้นหามา
6.ถามตอบ อย่างมีเหตุผล
7ใต้องหาคำตอบที่ถูกต้องและชัดเจนเท่านั้น

ประเมินผล

      อาจารย์มีความกระตือรือร้น ขยันมาสอนครบทุกคาบโดยไม่บ่น  ชอบหากิจกรรมมาให้ทำ เพื่อเสริมเสริมกระบวนการคิดอย่างถูกวิธีเชงคณิตศาสตร์นั้นเอง คอยถามตอบกับนักศึกษา เพื่อหาคำตอบที่ถูกต้อง  เปิดโอกาสให้ถามตอบได้ตลอดเวลา โดยมีการอธิบายเสริมและสรุปบทความที่เรียนทุกครั้งหลังการสอน


                                         




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6





 เนื่องจากไม่สบาย
จึงลาป่วยค่ะ






แต่อาจารย์ให้ศึกษาเนื้อหาเกี่ยวกับที่เรียนในวันนี้  สรุปได้ว่า  ครูแจกกระดาษ A4 คนละ 1 แ่ผ่นซ฿่งมีความยาวที่เท่ากันคือ 10 เซนติเมตรด้วยกัน  หลังจากนั้นให้ตีตาราง 2 ตาราง  จากนั้นก็ให้เพื่อนๆดูวิดิโอแล้วระบายสีลงในตาราง

และอาจารย์ยังได้บอกอีกว่า เกมการการศึกษษมีหลายประเภทด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น

1.เกมจับคู่ประเภทเดียวกัน
2.เกมจับคู่ที่สัมพันธ์กันตรงข้าม
3.เกมจับคู่ที่ซับซ้อน
4.เกมจับคู่ที่สมมาตรกัน
5.เกมจับคู่แบบอนุกรม เป็นต้น

และที่กล่าวมาทั้งหมดสามารถนำไปใช้เป็นเกมการศึกษาให้เด็กได้ทั้งสิ้น

วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5


วันพุธที่  3  กุมภาพันธ์  พ.ศ.2559




บรรยากาศในห้องเรียน
      ในวันนี้เป็นวันที่มีเพื่อนบางกลุ่มเข้าเรียนมาในเวลาใกล้เคียงกับอาจารย์พอดี  จึงถือว่าไม่สายมาก  ในช่วงแรกครูแจกกระดาษแข็งให้คนละ  1  ใบ จากนั้นให้ทุกคนเขียนชื่อ  นามสกุลตนเองลงไป โดยคาดคะเนให้เหมาะสมและสวยงามที่สุด  จากนั้นนำกระดาษที่เขียนชื่อนั้นไปแปะบนกระดานหน้าห้อง  โดยครูพูดคุยกับพวกเราไปพลางๆระหว่างที่เพื่อนติดกันอยู่



ความรู้ที่ได้รับ
      -ได้เรียนรู้ถึงคำคล้องจองคณิตศาสตร์ว่าคณิตศาสตร์กับคำในชีวิตประจำวันมีส่วนเกี่ยวข้องหรือคล้องจองกันอย่างไรบ้าง  และทำให้รู้ว่าคณิตศาสตร์มีอยู่รอบตัวในชีวิตประจำวันของทุกๆคน
       - การนับจำนวน  คือทำให้รู้ได้ว่าการที่จะทำกิจกรรมใดกิจกรรมนึงนั้นต้องอาศัยการคาดคะเน  การคำนวน  การชั่ง  ตวง  วัด  อย่างเป็นระบบ  เพื่อให้เกิดความแม่นยำมากขึ้นนั้นเอง
       - พื้นฐานของการคิดเลขสำหรับเด็กปฐมวัย  เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เด็กนั้นสามารถต่อยอดจากความรู้เดิมได้ ไปจนเกิดกระบวนการคิดการคำนวนอย่างมีเหตุผลและเกิดประโยชน์สูงสุดเพราะหากมีพื้นฐานที่ดีแล้ว ก็จะสามารถต่อยอดไปสู่คความรู้ใหม่ที่ดีขึ้นกว่าเดิมได้
       - เพลงคณิตศาสตร์  นิทานคณตศาสตร์เสริมการคิด  ในเด็กปฐมวัยนั้นจะเกิดการการเรียนรู้ที่ดีได้ พวกเขามักเริ่มมาจากการร้องเพลง  การฟังนิทาน เพราะจะทำให้เกิดการจินตนาการและการนึกคิดได้ดีกว่าการท่องจำ  ดังนั้นการที่นำเพลงมาดัดแปลงให้เนื้อหามีส่วนเป็นตัวเลข  เช่น บวก ลบ คูณ หาร นั้นเอง


เนื้อเพลงที่มีส่วนช่วยให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้มากขึ้น   







เพลง จับปู




เป็นเพลงที่สื่อถึงการนับจำนวนปูดดยนับ 1 2 3 4 5 เรียงตามจำนวนทางคณิตศาสตร์นั้นเอง


เพลง บวก-ลบ




เป็นการแสดงจำนวนเพิ่ม ลด ของแก้วน้ำ ว่าถ้าหากลดจำนวนแล้วจะทำให้เกิดจำนวนที่น้อยลง แต่ถ้าหากเพิ่มจำนวนขึ้นจะทำให้จำนวนเพิ่มมากขึ้น




เพลง  นับนิ้วมือ

" นี่คือนิ้วมือของฉัน  มือฉันนั้นมีสิบนิ้ว
มือซ้ายฉันมีห้านิ้ว  มือขวาก็มีห้านิ้ว
นับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า นับต่อมา หก เจ็ด แปด เก้า สิบ
นับนิ้วนั้นจงอย่ารีบ นับหนึ่งถึงสิบจำให้ขึ้นใจ "

เป็นนับจำนวนเลขโดยใช้อวัยะในร่างกายมาใช้เป็นตัวช่วย นั้นคือนิ้วมือของเรานั้นเอง


............................................................................................................

โดยเพลงทั้งหมดที่แสดงให้เห็นข้างต้นนี้ครูได้นำมาให้พวกเราฝึกร้องให้เข้าทำนองอย่างถูกต้อง  และปรบมือประกอบจังหวะ เพื่อให้เกิดความสุนทรีมากยิ่งขึ้น  และครูยังได้กล่าวอีกว่า  เราเป็นครูปฐมวัยควรรู้จักการนำเพลงประยุกต์ใช้หรือใส่ช่วงทำนองใหม่ให้เกิดความสนุกสนานมากยิ่งขึ้้น




ทักษะที่ได้รับวันนี้

- ทักษะการเปรียบเทียบ
- ทักษะการคำนวน
- ทักษะการคาดคะเน
- ทักษะไหวพริบในการตอบอย่างว่องไว
- ทักษะในการตอบคำถามอย่างมีความคิดสร้างสรร
- ทักษะการฟัง
- ทักษะการจับคู่
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการออกแบบ
- ทักษะการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

การนำมาประยุกต์ใช้
     
      จากความรู้ที่ได้รับมาทั้งหมดในวันนี้ทำให้รู้หลักการและเทคนิคหลายอย่างว่าเราเป็นครูปฐมวัยต้องสามารถนำเพลงมาให้เนื้อหาหรือทำนองให้เพื่อให้เกิดสุนทรีในการฟัง การร้องมากยิ่งขึ้น  อีกทั้งยังทำให้รู้จักการนำวิชาคณิตศาสตร์มาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดโดยนำมาเป็นส่วนประกอบในการแต่งเพลง  โดยนำจำนวนการบวก ลบ คูณ หาร มาใส่ลงในเพลง  เพราะจะทำให้เกิดสื่อการเรียนรู้แบบใหม่ๆที่ไม่ซ้ำซากจำเจนั้นเอง


เทคนิคการสอน

     ครูมีหลักการสอนที่แปลกใหม่ คือครูจะตั้งปัญหานั้นๆว่าสมควรทำอย่างไหร่เมื่อเจอปัญหานี้  หรือควรแก้ปัญหาแบบไหนถึงจะเป็นวิธีที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุด  จากนั้นก็ให้ในห้องช่วยกันคิดคำนวนดูหลักการและเหตุผลว่าสมควรที่จะได้คำตอบแบบนั้นจริงๆหรือไม่ พร้อมทั้งช่วยกันหาแนวคิดใหม่ๆมาช่วยในการเรียนการสอนด้วย


 ประเมินผล

ประเมินอาจารย์
     ในวันนี้ครูสอนอย่างสนุกสนานเพราะมีการสอนร้องเพลงประกอบจังหวะ  ครูมีความขยัน  ตรงต่อเวลา  มีความอดทนอย่างสูงเพราะในเซคของดิฉันเป็นเซคที่เฮฮา และมักจะสร้างความปวดหัวให้กับอาจารย์บ้างเป็นบางครั้ง  แต่อาจารย์ก็ไม่เคยบ่นเลย  อีกทั้งยังขอความคิดเห็นภายในห้องว่าควรจัดการเรียนการสอนแบบไหนถงจะดีที่สุด





















      

วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4




วันพุธที่  27  มกราคม พ.ศ.2559
ขาดเรียนเนื่องจากลาป่วย



แต่อาจารย์ให้ศึกษาเนื้อหาสาระที่ควรทำจากเพื่อนๆ สรุปได้คือ ในวันนี้ครูสอนการร้องเพลงที่เป็นการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับคณิตศาสตร์  และยังได้รู้ถึงคำศัพท์ทางคณิตศาสตร์เพิ่มเติมคือคำว่า
1. ตัวเลข
2.ขนาด
3.รูปร่าง
4.ที่ัตั้ง
5.ค่าของเงิน
6.ความเร็ว
7.อุณหภูมิ

และคำศัพท์ที่เด็กควรรู้คือ กว้าง ยาว สูง ต่ำ


วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3



บรรยากาศในห้องเรียน
      ภายในวันนี้อาจารย์ได้แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละ 1 ต่อ 1 โดยที่อาจารย์จะให้ทำกิจกรรมอะไรต่อ เมื่ออาจารย์เริ่มกิจกรรม ทุกคนจะตั้งใจฟังปฏิบัติตามอาจารย์ และร่วมแสดงความคิดเห็น มีความสนใจในการเรียนและการทำกิจกรรมตลอด เป็นอีกวันที่มีบรรยากาศในการเรียนที่ดีค่ะ


ความรู้ที่ได้รับ


- คำขวัญวันครูในปี 2559 นี้ คือ " อนาคตก้าวไกล ด้วยครูดีมีคุณภาพ "

- การแบ่งกระดาษ 4 ส่วน ในแนวต่างๆให้เท่ากันและการฉีกกระดาษด้วยมือเปล่าได้รู้วิธีการแบ่งกระดาษในแนวต่างๆ ทั้งแนวตั้ง แนวนอน ให้ได้ 4 ส่วนและเท่ากัน และครูต้องสามารถฉีกกระดาษได้ด้วยมือเปล่าอย่างสวยงาม เมื่อนับกระดาษไปแปะรวมกันบนกระดาน ในการนับกระดาษนั้นถ้าอยากนับให้ง่ายต้องวางให้เป็นแถวและเป็นระเบียบ ในการทำกิจกรรมนั้นควรมีหลากหลายวิธีในการทำเพราะจะเป็นประสบการณ์สำคัญในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และนำไปใช้ชีวิตประจำวันได้
- การนำเสนอหน้าชั้นเรียนควรอธิบายให้ชัดเจนและจับใจความสำคัญว่าใคร ,ทำอะไรและอย่างไร ให้เข้าใจและไม่ควรอธิบายเร็วเกินไป ควรมีการยกตัวอย่างและวิธีการที่สามารถเข้าใจได้ละเอียด
- การใช้ชีวิตประจำวันนั้นควรตั้งเป้่าหมายไว้เสมอ ว่าควรดำเนินชีวิตไปในทางแบบใดให้มีคุณภาพ
- รู้จักการออกแบบการวางตัวหนังสือให้เหมาะสมกับพื้นที่ในกระดาษ รู้จักจังหวะในการออกแบบ ต้องรู้ว่าบางจังหวะต้องมีอิสระ บางจังหวะต้องมีระเบียบวินัย การเขียนนั้นต้องเขียนจากซ้ายไปขวา และในการคาดการณ์ของตนเองในการทำควรอยู่ในขอบเขตที่กำหนด
- ได้รู้ว่าการที่เด็กชอบทำอะไรนั้นเพราะเด็กมีวิธีการ รูปแบบนั้นโดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 กับวัตถุในการเรียนรู้ และจังเป็นวิธีการเรียนรู้ของเด็ก



สาระมาตรฐานการเรียนรู้ 1. การวัด
2. พีชคณิต
3. เรขาคณิต
4. จำนวนการดำนเนินการ
5. ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์
6. การคิดวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

คุณภาพของเด็กเมื่อจบการเรียนรู้
1. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา
- รู้จักเงินเหรียญและธนบัตร 
- เข้าใจเวลาและคำที่ใช้บอกเวลา - เปรียบเทียบเรียงลำดับ วัดความยาว , น้ำหนัก

2. มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์
- เข้าใจหลักการนับ เวลานับต้องนับเพิ่มขึ้นหรือลดลง
- การรวมและการแยกกลุ่ม การรวมจะเป็นการบวกส่วนการแยกกลุ่มจะเป็นการลบ - รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิคและตัวเลขไทย - รู้ค่าของจำนวน - จำนวน 1 - 20 เด็กรู้จักจำนวนตัวเลข
- เปรียบเทียบและเรียงลำดับ
3. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานแบบรูปของรูปที่มีรูปร่างขนาดสีที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
4. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเรขาคณิต - ตำแหน่ง , ทิศทางและระยะทาง - รูปทรงเรขาคณิต มิติและรูปเรขาคณิต มิติ

5. มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล นำเสนอข้อมูลรูปแบบแผนภูมิอย่างง่าย
6. มีทักษะกระบวนการคณิตศาสตร์ที่จำเป็น







สรุปบทความ วิจัย และวีดีโอโทรทัศน์ครูที่นำเสนอในวันนี้

บทความเรื่อง เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์

พื้นฐานในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา จะกำหนดสาระหลักที่จำเป็นสำหรับเด็ก ได้แก่ จำนวนและการดำเนินการ จำนวน การรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม การวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา เรขาคณิต ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็ก ต้องคำนึงถึงขั้นตอนการเรียนรู้ของเด็ก ได้แก่ ทบทวบความรู้พื้นฐาน สอนเนื้อหาใหม่ สรุปสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ นำความรู้ไปใช้ วัดและประเมินผล การเรียนรู้โดยให้เด็กมีส่วนร่วมรู้ ร่วมคิด ร่วมทำ ควรคำนึงถึงความสนใจและความแตกต่างของเด็กแต่ละคน นอกจากนั้น เทคนิคการจูงใจให้เด็กๆ สนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์อีกอย่าง คือ ให้เด็กได้เรียนรู้และค้นพบสิ่งท้าทาย ด้วยกิจกรรมและเกมที่ช่วยฝึกทักษะคณิตศาสตร์ให้เด็กได้ร่วมสนุกสนาน
วิจัยเรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ได้จากการสาน

โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. ทำการประเมินทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กก่อนทำการทดลองจากนั้นทำมาตรวจคะแนนตามเกณฑ์และเก็บคะแนนเป็นหลักฐาน
2.ดำเนินการทดลองในกิจกรรมการสาน 8 สัปดาห์ 4 วัน จำนาน 32 ครั้ง วันละ 30-50 นาที
3.เมื่อสิ้นสุดการทดลองผุ้วิจัยประเมินทักษะพื้นฐานชองเ็กหลังการทดลอง การสังเกตที่ได้รับจากการวิจัย -สัปดาห์แรกเด็กต้องการการปรับตัวเพื่อเตรียมความพร้อมจากการทำกิจกรรมสาน แต่เป็นกิจกรรมที่แปลกใหม่ จึงต้องใช้เวลา ในการอธิบายวิธีการทำ -ขณะที่ทำกิจกรรมเด็กมีความสนใจและกระตือรือร้นมาก -เด็กเรียนรู้สื่อใหม่และอุปกรณ์ที่หลากหลาย - กิจกรรมการสานทำให้เด็กสามารถเรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสพื้นฐานตร์ได้ด้วยตนเอง และมีพัฒนาการด้านอื่นอีกด้วย เช้น ได้ใช้กล้ามเนื้อมือ และตาสัมพัธ์กัน
สรุปผล
1.ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมหลังทำกิจกรรมสานสูงกว่าก่อนทำกิจกรรม
2.เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ก่อนทำการทดลองโดยรวมและรานด้านทุกด้าน พอใช้ แต่หลังจัดกิจกรรมสานเด็กมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมและรายด้านทุกด้าน ในระดับดี

วีดีโอโทรทัศน์ครู เรื่องสาระความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 
กิจกรรมคณิตปฐมวัยจากธรรมชาติรอบตัว

มี 6 กิจกรรม

1. กิจกรรม : มุมคณิต การนำสิ่งต่าง ๆ ในครัวเรือน เช่น พืชผัก ไข่ เมล็ดพืช ซึ่งเป็นสิ่งที่เด็กรู้จักและคุ้นเคย โดยมีบัตรภาพที่กำหนดตัวเลขไว้ ให้เด็กเลือกสิ่งใดก็ได้ มาวางให้ตรงกับจำนวนในบัตรเลขนั้น

2. กิจกรรม : ต้นไม้ใกล้ตัว พาเด็กไปเรียนที่ใต้ต้นไม้ นอกห้องเรียน ซึ่งจะนำใบไม้ร่วงมาเปรียบเทียบ มานับจำนวน มากกว่าน้อยกว่า โดยที่ครูจะเป็นคนกำหนดโจทย์ให้

3. กิจกรรม : เกมกระต่ายเก็บของ เป็นการเก็บของโดยการจัดอันดับ 5 สิ่ง คือ ก้อนหิน ไม้บล็อก ตะกร้า โดยวิ่งไปเก็บของตามลำดับใส่ตะกร้าให้ครบ ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ได้
ประโยชน์จากการทำกิจกรรม
ทำให้เด็กเรียนรู้การใช้เงิน รู้จักเบอร์โทรศัพท์ของผู้ปกครอง ป้ายทะเบียนรถ ตัวเลขต่าง ๆ เป็นต้น ที่สำคัญคือ เด็กมีความสุขในการทำกิจกรรมและการเรียนรู้

4. 
กิจกรรม : ปูมีขา เป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กรู้ว่าปูมีขา 8 ขา และก้ามปูอีก 2 ก้าม ซึ่งให้เด็กเปรียบเทียบ เรียนรู้จากการนับนิ้วมือ ให้มิือเป็นเหมือนขาของปู

5. กิจกรรม : เกมก้อนหินหรรษา เป็นการนำก้อนหิน 2 สี คือ สีขาวกับสีแดง มาเรียงตามจำนวนในบัตรภาพหรือบัตรตัวเลข

6.
กิจกรรม : ใบไม้แสนสวย เช่น การจัดกิจกรรมจากการร้อยใบไม้ เริ่มจากใบไม้กลม หยัก เหลี่ยม รี หรือกิจกรรมการพิมพ์ภาพจากใบไม้ให้เท่าจำนวนตัวเลขที่ครูกำหนดมาให้ หรือกิจกรรมการฉีกปะใบไม้ ลงในตัวเลขที่ครูพิมพ์ไว้ให้ โดยให้เด็กเลือกเองตามใจชอบ


ทักษะที่ได้จากการเรียน

1.ทักษะการคิดการแบ่งกระดาษด้วยหลากหลายวิธี
2.ทักษะการนำประสบการณ์จากการใช้ชีวิตประจำวันมาใช้ในการเรียนคณิตศาสตร์
3.ทักษะการเขียนเพื่อสรุปการเรียนรู้
4.ทักษะการคิดตอบคำถามจากปัญหาที่อาจารย์ได้ตั้งคำถาม การปฏิบัติกิจกรรมให้ตรงตามขอบเขตที่อาจารย์กำหนด
5.ทักษะการหาเป้าหมายในชีวิตของตนเอง
6.ทักษะในการพูดตอบคำถาม การค้นหาคำตอบด้วยวิธีใหม่ๆ
7.ทักษะการฟังในการเรียนทักษะการนำเสนอหน้าชั้นเรียนฃ
8.ทักษะการปฏิบัติกิจกรรมให้ตรงตามขอบเขตที่อาจารย์กำหนด
ประเมินผล
ประเมินอาจารย์
 
การสอนของอาจารย์ในวันนี้มีการนำกิจกรรมมาให้ปฏิบัติก่อนเริ่มเนื้อหาและสอนแบบสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการเป็นครูว่าควรตระหนักถึงการเป็นครูที่ดีและมีคุณภาพของสังคม ควรที่จะเตรียมความพร้อมทั้งกาย วาจา และใจ จึงจะทำให้รู้สึกมีแรงบันดาลใจในการเรียนมากขึ้น อาจารย์ได้ให้คำแนะนำตลอดการเรียนการสอน อธิบายเนื้อหาเรื่องที่เรียนได้ละเอียดและชัดเจน มีการยกตัวอย่างในเนื้อหาที่เรียนทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น คอยรับฟังคำถามหรือเรื่องที่นักศึกษาสงสัยจากเนื้อหาที่เรียนเมื่อจบการเรียนการสอนของวิชาเสมอ